สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุม อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม ครั้งที่ 2/2564

แชร์หน้านี้

         
         สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุม อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีนายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ เป็นประธานในการประชุม สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้

         1. รับทราบรายงานผลการจัดกิจกรรม MY BETTER COUNTRY HACKATHON ครั้งที่ 8 : ลำปางสดใส ลดฝุ่น PM 2.5 และนำข้อเสนอ 2 เรื่อง ไปดำเนินการขับเคลื่อนต่อไป ได้แก่ 1) การขับเคลื่อนข้อเสนอของประชาชนให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม 2) การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างการรับรู้ของประชาชนทั่วไปในการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

         2. เห็นชอบ ประเด็นดังต่อไปนี้

             1) แผนปฏิบัติการ (Action Plan) และ แผนการดำเนินการ (Road Map) การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ของจังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดลำปาง
             2) ข้อเสนอเรื่องข้อจำกัดของการสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (OG & MP) ในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) เสนอต่อ อ.ก.พ.ร.ฯ คณะต่าง ๆ เช่น อ.ก.พ.ร เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการตีความและวินิจฉัยปัญหากฎหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน ประกอบด้วย 1) ด้านงาน 2) ด้านงบประมาณ 3) ด้านระบบ 4) ด้านกฎหมาย เพื่อดำเนินการปลดล็อกข้อจำกัดการบริหารงานในภาพรวมที่ต้องดำเนินการในระยะต่อไป
            3) การปรับชื่อและเพิ่มองค์ประกอบสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย 3 องค์ประกอบ ดังนี้

                (1) ปรับจาก “การปรับโครงสร้างองค์การ (Institution)” เป็น “การสร้างภาคีเครือข่าย (Partnership)”
                (2) ปรับจาก “การพัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน (Technology and Infrastructure)” เป็น “การพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน (Technology, Innovation and Infrastructure) โดยกรรมการให้มีการเพิ่มคำว่า “ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง”เข้ามาด้วย เพื่อให้การทำงานของภาครัฐคำนึงถึงประชาชนเป็นสำคัญ
                (3) เพิ่มองค์ประกอบ “การสร้างแรงจูงใจ (Motivation)” เข้ามาเพื่อเสริมสร้างการสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

           4) รับทราบรายงานผลการประเมินการเข้าร่วมเป็นสมาชิก Open Government Partnership (OGP) และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำผลการประเมินไปประกอบการศึกษา เรื่องการพัฒนาระบบนิเวศเพื่อสร้างเสริมภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย(Open Government and Meaningful Participation Ecosystem)


กลุ่มงานการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ