สสปน. ร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. เร่งเดินหน้ายกระดับการบริการในอุตสาหกรรมไมซ์รองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังโควิด 19

แชร์หน้านี้

         
         เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2564 สำนักงาน ก.พ.ร. นำโดย นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. นางสาวนภนง ขวัญยืน ผู้อำนวยการกองนวัตกรรมบริการภาครัฐ และ ดร.อภิชน จันทรเสน จากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ร่วมประชุมหารือการจัดทำข้อเสนอในการปรับปรุงงานบริการกับนายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (สสปน.) นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการ สสปน. และคณะ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

         การประชุมดังกล่าว สืบเนื่องมาจากสำนักงาน ก.พ.ร. ได้ส่งเสริมให้หน่วยงานมีการยกระดับการให้บริการภาครัฐตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 และการจัดอันดับความยาก-ง่าย ในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ของธนาคารโลกมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับอุตสาหกรรมไมซ์ เป็นอุตสาหกรรมที่จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยภายหลังวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ จึงควรยกระดับการให้บริการเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยผลการประชุมในวันนี้ สรุปได้ ดังนี้

          1. อุตสาหกรรมไมซ์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่น่าสนใจที่จะสามารถช่วยฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการลงทุนของประเทศไทยได้ โดยในปี 2562 ได้ทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศสูงถึง 2.51 แสนล้านบาท เกิดการจ้างงานมากกว่า 300,000 อัตรา และมีการประมาณการว่านักเดินทางในกลุ่มไมซ์มียอดค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 73,000 – 120,000 บาทต่อคนต่อทริป ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้วิเคราะห์ประเด็นปัญหาในภาพรวมจากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น และได้นำเสนอข้อมูลในที่ประชุม

          2. สสปน. ได้แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาปัญหาอุปสรรคที่ผ่านมาของการดำเนินการ เช่น การขอวีซ่าของผู้ที่จะเข้ามาในประเทศเพื่อจัดนิทรรศการ หรือมาร่วมงานใช้เวลานาน การขออนุญาตนำเข้าสินค้าเพื่อการจัดนิทรรศการ มีหน่วยงานเกี่ยวข้องจำนวนมากถึง 35 หน่วยงาน 215 การอนุญาต จึงเกิดความไม่สะดวกในการขออนุญาต และมีความล่าช้า เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมา สสปน. ได้ดำเนินการแก้ไขแล้วในบางส่วน เช่น การบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำ green lane เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดงานแต่ละครั้ง ได้มีประกาศกรมศุลกากร เรื่อง พิธีการศุลกากรสำหรับการนำเข้าชั่วคราวเพื่อการจัดแสดงสินค้าระหว่างประเทศหรือการแข่งขันในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ ทาง สสปน. มีแนวทางในการจะอำนวยความสะดวกผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไมซ์ เช่น การเตรียมการจัดทำ One Stop Service Platform สำหรับอุตสาหกรรมไมซ์ และการจัดทำ Thai MICE Connect แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ส่งเสริมธุรกิจประเภทจัดประชุม สัมมนา และการแสดงสินค้าต่างๆ ในประเทศไทย

          3. สำนักงาน ก.พ.ร. จะดำเนินการศึกษาประเด็นปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมไมซ์เพิ่มเติม เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในเชิงกระบวนการ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย โดยจะได้หารือร่วมกับทาง สสปน. เพื่อจะจัดทำข้อเสนอให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2564 และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการวมถึงคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่

กลุ่มงานการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ