การประชมคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการขับเคลื่อนระบบราชการเพื่ออนาคต ครั้งที่ 2/2563

แชร์หน้านี้

         
         เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 ได้มีการประชมคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการขับเคลื่อนระบบราชการเพื่ออนาคต ครั้งที่ 2/2563 โดยมีนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ เป็นประธานอนุกรรมการฯ ซึ่งการประชุมดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เข้าร่วมการประชุมและเสนอแนวทางการยกระดับขีดความสามารถของภาครัฐกับทิศทางการขับเคลื่อนระบบราชการเพื่ออนาคต 4 ประเด็น ดังนี้

          1. การสร้าง Digital Government ด้วยการพัฒนาระบบข้อมูลภาครัฐ
          2. การแก้ไข ทบทวน รายละเอียดของกฎหมาย กฎระเบียบ โดยต้องคำนึงถึงการประเมินผลกระทบในการออกกฎหมาย (Regulatory Impact Assessment: RIA) การประเมินผลสัมฤทธิ์เมื่อมีการบังคับใช้กฎหมายแล้ว และการทำ Regulatory Guillotine
          3. รัฐให้สังคมริเริ่ม และรัฐเข้าไปเกื้อหนุน โดยให้ความสำคัญของการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
          4. การปรับวัฒนธรรมการทำงาน บูรณาการร่วมกันภายในหน่วยงานภาครัฐ มีการทำงานที่ใช้นวัตกรรมใหม่ เช่น การนำ Design Thinking หรือ Sandbox มาขับเคลื่อนการทำงานร่วมกัน

         โดยที่ประชุมมีข้อเสนอแนะและความเห็นเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการปลดล็อคระบบราชการไทย สรุปเป็น 4 ประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้

          1. ด้านระบบการทำงาน

              -การออกแบบและสร้าง New Eco System เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงระบบและพฤติกรรม ซึ่งจะนำมาสู่การปรับเปลี่ยนระบบราชการเพื่ออนาคต
              -การส่งเสริมให้เกิดรัฐบาลเปิด (Open Government) โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อลดระยะเวลา ลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ แต่สามารถเพิ่มความโปร่งใสในการทำงาน และช่วยสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ
              -การบริหารความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างฝ่ายการเมือง และฝ่ายข้าราชการประจำ เพื่อให้เกิดสมดุลในการทำงานร่วมกัน ส่งผลต่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง

           2. ด้านกฎหมาย
               -การยกเลิกและทบทวนกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการและการปฏิบัติงานของภาครัฐ
               -ผลักดันให้มีการสร้าง Law catalog เพื่อให้เห็นภาพรวมของกฎหมายก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยน และทบทวนกฎหมาย รวมทั้งควรให้มีการ ทำ Smart Search เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงกฎหมาย

           3. ด้านงบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
               - สร้างเครือข่ายในการทำงานร่วมกับภาคเอกชน เพื่อให้ก้าวข้ามขีดจำกัดด้านงบประมาณให้สามารถพัฒนา Project ใหม่ๆ ได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น
               - ปรับปรุงระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้เข้าสู่ Digital Procurement เพื่อลดขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างและเพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินการ

            4. ด้านบุคลากรภาครัฐ
               -วางรูปแบบการจ้างงานในภาคราชการในอนาคต เช่น ทักษะและสมรรถนะใหม่ และการจ้างงานแบบ Contract-Based Job
               -การปรับเปลี่ยน Mindset ในการทำงาน (Democratic mindset และ Management mindset) เพื่อสร้างให้เกิด Democratic Value โดยจำเป็นต้องเริ่มต้นจากผู้บริหารองค์กรลงมาสู่ผู้ปฏิบัติงาน
               -การใช้ Passion เป็นเครื่องมือในการผลักดันให้ข้าราชการเกิดความรู้สึกอยากให้บริการประชาชนและปฏิบัติงานภายในองค์กร
               -การลดวัฒนธรรมการทำงานในรูปแบบไซโล มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ดังนั้น จำเป็นต้องมีการออกแบบที่เหมาะสม ต้องมี Stakeholder Design และการนำรูปแบบ Agile มาใช้ในการปฏิบัติงาน

         ทั้งนี้ ควรใช้เครื่องมือ sandbox เป็นกลไกในการขับเคลื่อนข้อเสนอดังกล่าวให้เป็นรูปธรรม ต่อไป


กลุ่มงานการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ