สำนักงาน ก.พ.ร. จัดการประชุม อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ครั้งที่ 1/2564

แชร์หน้านี้

         
         เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดการประชุม อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น ครั้งที่ 1/2564 โดยมี นายไมตรี อินทุสุต เป็นประธาน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

         1. เห็นชอบกับแนวทางการดำเนินงานการพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดให้มีการทำงานที่มีผลสัมฤทธิ์สูง ตามแผนการปฏิรูปประเทศ ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับปรับปรุง) ประกอบด้วย

             1.1 วางแนวทางจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง เพื่อมุ่งสร้างความเข้มแข็งในการบริหารราชการเชิงพื้นที่โดยประชาชนที่มีการบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดผลลัพธ์แก่ประชาชนและการบริหารงานในพื้นที่อย่างมีคุณภาพ โดยกระบวนการมีส่วนร่วม มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบสมัยใหม่ กลไกการจัดการสู่รัฐบาลดิจิทัล นวัตกรรม การจัดการ

             1.2 การกำหนดจังหวัดที่เริ่มดำเนินการในขั้นต้นกระจายตามภาคต่าง ๆ 22 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สระบุรี สิงห์บุรี ชลบุรี จันทบุรี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด อุดรธานี สกลนคร นครราชสีมา ระนอง กระบี่ นครศรีธรรมราช นราธิวาส แพร่ เชียงราย ลำปาง ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และนครสวรรค์

             1.3 กำหนดแนวประเด็นนโยบายสำคัญ (Agenda) ซึ่งได้วิเคราะห์จากข้อมูลต่าง ๆ โดยยึดการริเริ่มจากพื้นที่เป็นฐาน (Area – based initiation) อาทิ ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ข้อมูลการประเมินสถานะหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราขการ 4.0 (PMQA 4.0) และปัญหาอุปสรรคของการดำเนินการ เป็นต้น เพื่อเป็นแนวทางให้จังหวัดริเริ่มดำเนินการ เพื่อประกอบการพิจารณาในการเลือกประเด็นขับเคลื่อนเป็นวาระเชิงยุทธศาสตร์

             1.4 การแต่งตั้งคณะทำงานของ อ.ก.พ.ร.ฯ โดยมีองค์ประกอบ ได้แก่ อนุกรรมการ เจ้าหน้าที่จากกระทรวงมหาดไทย และจากสำนักงาน ก.พ.ร. จำนวน 3 คณะ (ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและความมั่นคง และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะในประเด็นนโยบายสำคัญ (Agenda) และให้คำปรึกษาแนะนำแก่จังหวัดที่จะนำร่องที่อยู่ในความรับผิดชอบ

         โดย สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยจะประชุมรับฟังข้อสะท้อนและชี้แจงจังหวัด ในวันที่ 3 มีนาคม 2564 ที่กระทรวงมหาดไทย

         2. รับทราบแนวทางการเชื่อมโยงการทำงานระหว่าง ก.พ.ร. และ อ.ก.พ.ร. โดยมีความเกี่ยวข้องกับ อ.ก.พ.ร. จำนวน 7 คณะ จาก 12 คณะ ซึ่งต้องอาศัยกรอบแนวคิด ทิศทาง วิธีการ กระบวนการจาก อ.ก.พ.ร. ทั้ง 7 ชุด เพื่อเป็นรูปแบบให้มีการนำไปประยุกต์ใช้ในจังหวัด ได้แก่ 1) อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการทบทวนบทบาทภารกิจและปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการ 2) อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ 3) อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพภาครัฐ 4) อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการปรับปรุงระบบการเงินและงบประมาณ 5) อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการตีความและวินิจฉัยปัญหากฎหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน 6) อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม และ 7) อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล ซึ่งจะได้เรียนเชิญผู้แทน อ.ก.พ.ร. มาร่วมหารือในการประชุมด้วย

         3. รับทราบผลการดำเนินการของ อ.ก.พ.ร.ฯ ที่เป็นแกนกลางในการประสานงานกับ มท. กรมบัญชีกลาง และส่วนราชการ ในเรื่องงบประมาณจังหวัดบูรณาการที่ให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดมีความคล่องตัวในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารงานด้านพัสดุของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ซึ่งคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง อนุมัติยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบฯ ข้อ 7 วรรคหนึ่ง โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถมอบอำนาจในการจัดซื้อจัดจ้างให้กับผู้ดำรงตำแหน่งในราชการส่วนกลางในภูมิภาค หรือหัวหน้าหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค หรือหัวหน้าหน่วยงานท้องถิ่น หรือหัวหน้าหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดโดยตรง โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดทราบ และส่งสำเนาหลักฐานการมอบอำนาจให้ สตง. ทราบด้วย

         4. รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ที่กำหนด Big Rock ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ในความรับผิดชอบของสำนักงาน ก.พ.ร. ในกิจกรรมปฏิรูปที่ 4 สร้างความเข้มแข็งในการบริหารราชการในระดับพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยกำหนดเป้าหมาย 1.1 มีกลไกการทำงานที่บูรณาการ/เชื่อมโยงการทำงานของหน่วยงานในพื้นที่ และเป้าหมาย 1.2 จังหวัดมีการพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง (ตามประเด็นในข้อ 1)

         5. เป้าหมายการพัฒนากลไกการทำงานที่บูรณาการ/เชื่อมโยงการทำงานของหน่วยงานในพื้นที่ ในกิจกรรมปฏิรูปที่ 4 สร้างความเข้มแข็งในการบริหารราชการในระดับพื้นที่ ตามแผนการปฏิรูปประเทศ เห็นควรให้นำประเด็นการพัฒนา (Agenda) ใน 2 ประเด็น คือ กลไกแก้ไขราคาผลไม้ตกต่ำ และการจัดระบบบริหารของจังหวัดภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 2019 (ฟื้นฟูการท่องเที่ยว) และคัดเลือกพื้นที่ตัวอย่างความสำเร็จในการแก้ไขในกระบวนการตาม Agenda จำนวน 2 จังหวัด เพื่อเป็นแนวทางการจัดทำรูปแบบการทำงานที่เน้นการบูรณาการของกรมและจังหวัด โดยนำมาหารือในการประชุม อ.ก.พ.ร.ฯ ครั้งต่อไปในวันที่ 26 มีนาคม 2564


กลุ่มงานการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ