สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุม อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการขับเคลื่อนระบบราชการเพื่ออนาคต ครั้งที่ 1/2564 และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

แชร์หน้านี้

         
         เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดประชุม อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการขับเคลื่อนระบบราชการเพื่ออนาคต ครั้งที่ 1/2564 และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ณ ห้องประชุม ก.พ.ร. ชั้น 5 โดยมีนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ เป็นประธานในการประชุม โดยมีสาระสำคัญของ?การประชุม? ดังนี้

         1. ที่ประชุมได้รับเกียรติจากคุณเชษฐา เทอดไพรสันต์ Senior Partner and Chairman Indochina, Thailand & Myanmar และ Ms. Diaan-Yi Lin, Senior Partner and Leader of McKinsey Asia Public Sector บริษัท แมคคินซี่ แอนด์ คอมพานี นำเสนอผลการศึกษา The Civil Service of the Future โดยมีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการปรับตัวของรัฐบาล เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ดังนี้

             - ปรับเปลี่ยนกระบวนการบริหารจัดการภาครัฐให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digital by Default) เพื่อให้การประสานงานระหว่างภาครัฐเกิดขึ้นได้จริง
             - สร้างภาครัฐที่มีการสานพลังจากภาคส่วนอื่น ๆ ในการรับมือกับปัญหาหรือวิกฤติต่าง ๆ อาทิ วิกฤติโรคระบาดโควิด-19 รวมทั้ง สร้างให้เกิดภาครัฐที่มีความคล่องตัว สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง อาทิ การจัดทำคำของบประมาณที่มีลักษณะ Rolling out plan
             - สร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายที่ซับซ้อน ลงทุนในการพัฒนาทักษะเชิงกลยุทธ์และการมองอนาคตเพื่อคาดการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งนับเป็นรูปแบบใหม่ของรัฐบาลในอนาคต อาทิ รัฐบาลสิงคโปร์จัดตั้ง Gov Tech ที่รวมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและให้บริการประชาชนแบบดิจิทัล รัฐบาลสหราชอาณาจักรจัดตั้ง GDS (Government Digital Service) เพื่อขับเคลื่อนงานบริการดิจิทัลของภาครัฐ
             - ใช้ข้อมูลและนำข้อมูลมาวิเคราะห์การจัดให้บริการใหม่ๆ ของรัฐบาล และใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการตัดสินใจของภาครัฐ อีกทั้ง เปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคเอกชนสามารถเข้าถึงข้อมูลภาครัฐ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลของภาครัฐได้
             - สร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน ซึ่งจะส่งผลให้การตอบสนองความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการสาธารณะเพิ่มสูงขึ้น ประชาชนมีความไว้วางใจในภาครัฐมากขึ้น

         จากการปรับตัวของรัฐบาลข้างต้น ส่งผลให้ภาพอนาคตของรัฐบาลประกอบไปด้วย

         1. ผู้นำภาครัฐที่แหลมคม (Spiky Leader) มีขีดความสามารถที่โดดเด่น
         2. ภาครัฐที่มีความยืดหยุ่น คล่องตัว (Agile)
         3. ความเป็นมืออาชีพ (Expertise)
         4. การนำ Data มาใช้ประโยชน์
         5. Mindset of Partnership

         โดยนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ ประธานในการประชุม ได้สรุปประเด็นการพัฒนาภาครัฐเพื่ออนาคต และความท้าทายในการเปลี่ยนสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (As Is) ไปสู่ “Next Practice” 3 ประการ ได้แก่ 1) การปรับ Mindset ของข้าราชการและประชาชนให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป 2) การกำหนด Skill-set ในการเป็น e-Government และ 3) การสร้าง Eco System ในการบริหารภาครัฐ โดยเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

         2. อ.ก.พ.ร. รับทราบกรอบการดำเนินงานโครงการพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐเพื่ออนาคต (Future Government) ที่สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และให้ข้อเสนอแนะและความเห็นเพิ่มเติมในประเด็นกรอบการศึกษา ซึ่งควรเลือกประเด็นที่ชัดเจน ที่มาจาก Demand-side ของประชาชน เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าเป็นการเน้นที่ Citizen Centric อย่างแท้จริง รวมทั้ง ควรเป็น Agenda พื้นฐาน ที่สามารถนำไปดำเนินการได้ในทันที และเห็นผลได้รวดเร็ว (Quick Win) เพื่อเป็นต้นแบบให้หน่วยงานอื่น ๆ และสามารถนำไปขยายผลได้ต่อไป

         3. อ.ก.พ.ร. ให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำ (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2564-2565) โดยให้เน้นที่ Action-Oriented มุ่งประเด็นสำคัญและเป็น Agenda based โดยเลือก Agenda ที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน รวมทั้งสามารถเปิดให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ ซึ่งจะต้องเป็นประเด็นที่สามารถดำเนินงานให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม มากกว่าเป็นเพียง Guiding Principle รวมถึงปรับตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับประเด็นที่กำหนด ทั้งนี้ ควรมีการระบุ Flagship Project ที่จะดำเนินการในระหว่างปี 2564 – 2565 เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานต่อไป

         ทั้งนี้ อ.ก.พ.ร. มอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ รวบรวมรายชื่อคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูป/พัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ เช่น คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน คณะทำงานปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในบทบาทหน้าที่และประเด็นที่แต่ละคณะมุ่งเน้น นำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป


กลุ่มงานการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ