นางนันทนา ธรรมสโรช รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการกำกับการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมประชุมคณะกรรมการ ฯ ครั้งที่ 4/2563

แชร์หน้านี้

         
         นางนันทนา ธรรมสโรช รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการกำกับการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมประชุมคณะกรรมการ ฯ ครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.30 น. ณ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สอวช.) โดยมีประเด็นการประชุมที่สำคัญ ได้แก่

         1. รับทราบข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการประชุมครั้งที่ 9/2563 เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2563 เกี่ยวกับประเด็นการประเมิน 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นด้าน Efficiency & Effectiveness ด้าน Organization Transformation และด้าน Coordination & Collaboration

         2. พิจารณา (ร่าง) หลักเกณฑ์และตัวชี้วัดการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตามที่มูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) เสนอ โดยที่ประชุมมีประเด็นอภิปรายเพื่อร่วมพัฒนาหลักเกณฑ์และตัวชี้วัด ดังนี้

             2.1 ในการกำหนดตัวชี้วัดควรปรับจากการวัด Project Based หรือการวัด Process มาเป็นการวัดผลลัพธ์และผลกระทบ รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์ และปรับวิธีการวัดให้เป็นลักษณะ Strategic Process ครอบคลุมประเด็นเรื่องการส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากสถาบันการศึกษา เอกชน และภาคประชาสังคมในการจัดสรรทุนวิจัย และการดำเนินการตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 รวมทั้งสอดรับกับบทบาทภารกิจใหม่ของ วช. และเป้าหมายประเทศ ที่ Focus เรื่องขีดความสามารถตามทิศทางใหม่ (To be) ของ วช. ด้วย

             2.2 เพื่อให้เห็นพัฒนาการในการ Transform และการทำงานรูปแบบใหม่ของ วช. เกี่ยวกับการจัดสรรทุนวิจัย ที่สอดรับกับการปฏิรูประบบ อววน. ควรให้ความสำคัญกับการประเมิน To be มากขึ้นโดยปรับน้ำหนักหรือความสำคัญให้มีสัดส่วนการประเมินระหว่าง As is กับ To be เป็น 50 : 50

             2.3 ให้ บวท.วิเคราะห์ความเชื่อมโยงบทบาทภารกิจของ วช. ในระบบ อววน. กับภาพ To be ของ วช. และ ถอดบทเรียนจากการ Benchmark รูปแบบหรือแนวทางการดำเนินงานกับ 3 หน่วยจัดสรรทุนภายใต้ สอวช. โดยทดลองทำ Sandbox ในบางภารกิจ เช่น ภารกิจการบริหารจัดการการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมเชิงรุก (Proactive) เพื่อประเมิน Capability ค้นหา Gap และนำไปสู่ข้อเสนอการปลดล็อคกฎหมายหรือระเบียบต่าง ๆ ในการให้ทุน

             2.4 บวท. ควรศึกษากลไกการขับเคลื่อนการวิจัยในระบบ อววน. ใหม่ ๆ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกระทรวง อว เช่น มาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 และมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 รวมทั้งศึกษา Eco-system ของระบบวิจัยของ อววน. เพื่อนำมาพิจารณาประกอบการประเมิน To be ของ วช.

         3. มอบหมายให้ บวท. ปรับปรุง (ร่าง) หลักเกณฑ์และตัวชี้วัดการประเมินฯ ตามความเห็นของคณะกรรมการฯ และนำเสนอต่อที่ประชุมในการประชุมครั้งต่อไป


กลุ่มงานการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ