ร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ เจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร.
นิยาม
- “เจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร.” หมายถึง ข้าราชการ และลูกจ้าง ที่สังกัดสำนักงาน ก.พ.ร.
- “เรื่องร้องเรียนทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร.” หมายถึง เรื่องที่ผู้ได้รับความเสียหาย หรือผู้พบเห็นได้ร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ.ร. ในประเด็นการกระทำทุจริตต่อหน้าที่หรือประพฤติมิชอบในภาครัฐเรื่องใดเรื่องหนึ่งใน 5 เรื่อง ดังต่อไปนี้
- การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติในตำแหน่งหรือหน้าที่ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ทั้งของตนเองหรือผู้อื่น
- การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติในพฤติกรรมที่ทำให้ผู้อื่นเชื่อว่าตนมีตำแหน่งหรือหน้าที่ ทั้งที่ไม่ได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ทั้งของตนเองหรือผู้อื่น
- การใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเอง หรือผู้อื่น
- การกระทำอันเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 147 – 166)
- การใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งหรือมติคณะรัฐมนตรีที่มุ่งหมายจะควบคุมดูแลการรับ การเก็บรักษา หรือการใช้เงินหรือทรัพย์สินของแผ่นดิน
- ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนของสำนักงาน ก.พ.ร. ประกอบด้วย
- ยื่นหนังสือด้วยตนเอง
- จดหมาย
- Website สำนักงาน ก.พ.ร.
- www.1111.go.th
หลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร.
เรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบต้องมีรายละเอียด ดังนี้
- วัน เดือน ปีที่ร้องเรียน
- ชื่อ และลายมือชื่อของผู้กล่าวหา พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่รัฐ รับรองสำเนาถูกต้อง ลงวันเดือน ปีที่รับรองโดยผู้กล่าวหาเอง รวมทั้งหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้สะดวก หรือหลักฐานอื่นใดที่สามารถระบุได้ว่าผู้กล่าวหามีตัวตน
- ชื่อ ตำแหน่ง หรือข้อมูลเพื่อยืนยันตัวบุคคลของผู้ถูกกล่าวหา หรือเพื่อให้ทราบว่าเป็นการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ สำนักงาน ก.พ.ร.
- มีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์แห่งการกระทำที่มีการกล่าวหาตามนิยาม “เรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร.” และระบุรายละเอียดเพียงพอที่จะเข้าใจได้
- ระบุพยานบุคคลหรือพยานเอกสารในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียนกล่าวหาที่เป็นการทุจริตและประพฤติมิชอบ ของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร.
- กรณีมีการร้องเรียนหลายคนให้ดำเนินการ 6.1 ลงลายมือชื่อของผู้ร้องเรียนทุกคน ระบุหมายเลขโทรศัพท์ของแต่ละคนและสถานที่ติดต่อที่สะดวกของแต่ละคน 6.2 แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละคน รับรองสำเนาถูกต้อง โดยผู้เป็นเจ้าของบัตรดังกล่าว พร้อมวัน เดือน ปีที่รับรอง
ในกรณีมีรายละเอียดไม่ครบถ้วนตามข้อ 1 – 6 ให้หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตพิจารณาว่าจะรับเรื่องไว้พิจารณาหรือไม่ และให้ถือว่าการพิจารณาถือเป็นที่สิ้นสุด
กระบวนการจัดการเรื่องร้องเรียนทุจริตและประพฤติมิชอบ ของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร.
- ผู้ร้องเรียนยื่นข้อร้องเรียนตามหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร. ที่กำหนด ผ่านช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนของสำนักงาน ก.พ.ร.
- เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) รับเรื่องร้องเรียน และสรุปข้อเท็จจริงรายงานเสนอเลขาธิการ ก.พ.ร. ภายใน 7 วัน
- เลขาธิการ ก.พ.ร. พิจารณา/สั่งการเพื่อสืบสวนข้อเท็จจริงด้วยตนเองหรือมอบหมายคนหนึ่งคนใด และแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวน โดยต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันครบกำหนดระยะเวลาตามข้อ 2. ซึ่งผลการสืบสวนแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
- กรณีมีมูลเข้าข่ายการทุจริต
เลขาธิการ ก.พ.ร. ตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย และเสนอผลการสอบสวนวินัยให้เลขาธิการ ก.พ.ร. พิจารณา เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 88 (ลงโทษทางวินัย) และตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการดำเนินการทางวินัย พ.ศ. 2556 ต่อไป - กรณีไม่มีมูลเข้าข่ายการทุจริต
เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) เสนอเลขาธิการ ก.พ.ร. พิจารณายุติเรื่อง และแจ้งผลการดำเนินการให้ผู้ร้องเรียนทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ยุติเรื่อง
- กรณีมีมูลเข้าข่ายการทุจริต