รู้จัก ก.พ.ร.

วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ยุทธศาสตร์

7 ก.พ. 2567
85

วิสัยทัศน์

” พัฒนาระบบราชการตามหลักธรรมาภิบาลให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน “

พันธกิจ

         สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) มีภารกิจเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ เสนอแนะนโยบาย และให้คําปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการแก่คณะรัฐมนตรี ส่วนราชการ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ทั้งนี้ เพื่อให้ระบบราชการมีความเข้มแข็ง ทันสมัย และสอดรับกับการบริหารภาครัฐแนวใหม่ ที่เน้นเรื่องผลสัมฤทธิ์ของงาน โดยมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

         1. เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดําเนินงานในหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และดำเนินการตามที่ ก.พ.ร. มอบหมาย
         2. รับผิดชอบในงานธุรการและงานวิชาการของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริม องค์การมหาชน และดำเนินการตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนมอบหมาย
         3. ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอความเห็นเกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการและการกำหนดหน้าที่และอำนาจของส่วนราชการ รวมทั้งตรวจสอบดูแลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
         4. ชี้แจง ทําความเข้าใจ แนะนํา และฝึกอบรมเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการตามที่ ก.พ.ร. มอบหมาย
         5. ดำเนินการ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และกฎหมายว่าด้วยการอำนวยความสะดวก ในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอต่อ ก.พ.ร.
         6. จัดทํารายงานประจำปีเกี่ยวกับการพัฒนาและจัดระบบราชการ และงานของรัฐอย่างอื่น เสนอต่อ ก.พ.ร. เพื่อนําเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาต่อไป          
         7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของสำนักงาน หรือตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

ประเด็นยุทธศาสตร์/เป้าประสงค์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนานวัตกรรมการให้บริการการประชาชนโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
         เป้าประสงค์ : ส่งเสริมและพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของหน่วยงานภาครัฐไทยให้มีความเป็นเลิศ ยกระดับประสิทธิภาพงานบริการ พัฒนานวัตกรรม ให้เข้าถึงง่าย สะดวก มีค่าใช้จ่ายน้อยและมีหลากหลายรูปแบบ สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน
         กลยุทธ์ที่ 1.1 พัฒนาการบริการภาครัฐให้สะดวก รวดเร็ว ค่าใช้จ่ายน้อย และตอบโจทย์ชีวิตประชาชน
         กลยุทธ์ที่ 1.2 เพิ่มขีดความสามารถในการจัดเก็บและเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศเพื่อการให้บริการประชาชน
         กลยุทธ์ที่ 1.3 ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาโครงสร้างและระบบบริหารจัดการภาครัฐ ให้มีขนาดเหมาะสม คล่องตัว และมีขีดสมรรถนะสูง โดยใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี
         เป้าประสงค์ : ปรับปรุงบทบาท ภารกิจและโครงสร้างของหน่วยงานภาครัฐ ให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยดำเนินการเฉพาะภารกิจที่สำคัญ จำเป็น และคุ้มค่ามีโครงสร้างที่เหมาะสม ยืดหยุ่น คล่องตัว ตลอดจนพัฒนาระบบการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐให้มีขีดสมรรถนะสูง โดยใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน
         กลยุทธ์ที่ 2.1 ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างของภาครัฐให้มีขนาดกะทัดรัดเหมาะสมกับภารกิจ มีความยืดหยุ่น ปรับตัวได้เร็วพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง
         กลยุทธ์ที่ 2.2 พัฒนารูปแบบ แนวทางการดำเนินงาน และบทบาทของหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้เป็นระบบบริหารราชการรูปแบบใหม่ มองไปข้างหน้า เป็นระบบงานที่มีผลสัมฤทธิ์สูง
         กลยุทธ์ที่ 2.3 พัฒนารูปแบบการดำเนินการและการบริหารงานของภาครัฐให้มีลักษณะการทำงานเชิงรุก และมองไปข้างหน้า โดยทำงานอย่างเตรียมการไว้ล่วงหน้าและมีการวิเคราะห์ความเสี่ยง
         กลยุทธ์ที่ 2.4 ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการองค์กรของหน่วยงานภาครัฐ
         กลยุทธ์ที่ 2.5 พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารจัดการภาครัฐเต็มรูปแบบ
         กลยุทธ์ที่ 2.6 สรรหาและพัฒนาคนรุ่นใหม่ที่มีขีดสมรรถนะสูงเข้าสู่ระบบราชการเพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
         กลยุทธ์ที่ 2.7 ทบทวนและปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับระเบียบบริหารราชการแผ่นดินให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
         กลยุทธ์ที่ 2.8 เสริมสร้างและพัฒนาขีดสมรรถนะเครือข่ายการพัฒนาระบบราชการ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบราชการให้เปิดกว้างเชื่อมโยงบูรณาการและมีส่วนร่วมกับประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
         เป้าประสงค์ : พัฒนาระบบบริหารงานแบบบูรณาการระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น แบบยึดพื้นที่อย่างเป็นองค์รวมกับทุกภาคส่วน โดยใช้กลไกประชารัฐ ออกแบบโครงสร้างและระบบบริหารงานที่รองรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศ พร้อมทั้งต้องมีการเปิดเผยโปร่งใสในการทำงาน โดยบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการหรือมีการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน และสามารถเข้ามาตรวจสอบการทำงานของรัฐได้
         กลยุทธ์ที่ 3.1 วางระบบการวางแผนและกำหนดนโยบายหรือมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐให้ประชาชน ภาคเอกชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดินแบบประชารัฐที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง
         กลยุทธ์ที่ 3.2 ส่งเสริมการถ่ายโอนภารกิจที่ภาครัฐไม่ควรดำเนินการเองออกไปให้แก่ภาคส่วนอื่น ๆ เป็นผู้ดำเนินการแทน
         กลยุทธ์ที่ 3.3 วางระบบการบริหารราชการแบบบูรณาการและทำงานเชิงรุก
         กลยุทธ์ที่ 3.4 วางระบบการทำงานที่เปิดเผยโปร่งใสในการทำงาน โดยบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการหรือแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกันได้
         กลยุทธ์ที่ 3.5 ส่งเสริมการบูรณาการข้อมูลผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลกลางระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ให้มีมาตรฐานและปลอดภัย
         กลยุทธ์ที่ 3.6 เพิ่มประสิทธิภาพและเชื่อมโยงการทำงานภายในภาครัฐด้วยกันเองให้มีเอกภาพและสอดรับประสานกัน ทั้งการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
         กลยุทธ์ที่ 3.7 พัฒนาระบบประเมินผลงานภาครัฐ โดยประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียตัวจริง

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมธรรมาภิบาลในภาครัฐ
         เป้าประสงค์ : ส่งเสริมสนับสนุนในการเสริมสร้างความซื่อสัตย์สุจริตในระบบราชการปรับปรุงกระบวนการทำงานของภาครัฐให้โปร่งใส ลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและความเชื่อมั่นให้แก่ระบบราชการไทย
         กลยุทธ์ที่ 4.1 สร้างระบบธรรมาภิบาลที่ยั่งยืนในหน่วยงานภาครัฐ
         กลยุทธ์ที่ 4.2 สร้างความตระหนักรู้และปลุกจิตสำนึกเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบเพื่อสร้างความโปร่งใสในการบริหารงานภาครัฐ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาสำนักงาน ก.พ.ร. ให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูง ยืดหยุ่นคล่องตัว และเป็นองค์กรดิจิทัลเต็มรูปแบบ
         เป้าประสงค์ : 
พัฒนารูปแบบและกระบวนการทำงาน วางโครงสร้างพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติราชการภายในสำนักงาน ก.พ.ร. และพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคดิจิทัลดิสรัปชัน และสามารถให้คำปรึกษาแก่ส่วนราชการอื่นเพื่อการพัฒนาระบบราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         กลยุทธ์ที่ 5.1 ทบทวนและปรับปรุงระบบและกระบวนงานภายในสำนักงาน ก.พ.ร.ให้สอดคล้องกับภารกิจ เทคโนโลยี และมีประสิทธิภาพ
         กลยุทธ์ที่ 5.2 พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการปฏิบัติงานของสำนักงาน ก.พ.ร.ให้ทันสมัย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ปฏิบัติงาน
         กลยุทธ์ที่ 5.3 พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติงานและการบริหารงานโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสม ปลอดภัย
         กลยุทธ์ที่ 5.4 พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรและรูปแบบการปฏิบัติงาน ให้มีความคล่องตัว รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
         กลยุทธ์ที่ 5.5 พัฒนาระบบการบริหารจัดการและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของสำนักงาน ก.พ.ร. ให้สอดคล้องกับกระบวนงาน เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สำนักงาน ก.พ.ร.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า