รู้จัก ก.พ.ร.

อำนาจหน้าที่

22 ธ.ค. 2566
0

1. สำนักงานเลขาธิการ

มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  • จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของสำนักงาน รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน ตลอดจนประสานการปฏิบัติราชการของสำนักงาน
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานช่วยอำนวยการ งานการเงินและพัสดุ งานงบประมาณ งานบริหารงานบุคคล งานพัฒนาข้าราชการ งานวิเทศสัมพันธ์ งานเลขานุการนักบริหาร และงานประชาสัมพันธ์ของสำนักงาน
  • ดำเนินการเกี่ยวกับการให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงาน
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของ ก.พ.ร.
  • ดำเนินการอื่นใดที่มิได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใดของสำนักงาน
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

2. กองกฎหมายและระเบียบราชการ

มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  • จัดร่างกฎหมายและระเบียบ ให้ความเห็นและวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย รวมทั้งศึกษาและวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ร.
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง อาญา งานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน
  • ให้คำปรึกษา แนะนำ และปฏิบัติงานรวมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายในความรับผิดชอบ และจัดทำคู่มือเผยแพร่การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบ ราชการที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

3. กองกิจการองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่น

มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  • ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเสนอแนะ เพื่อกำหนดนโยบาย แนวทาง และหลักเกณฑ์กลางที่เกี่ยวกับการจัดตั้ง การรวม การยุบเลิก การบริหารงานและพัฒนา และการประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์การมหาชนและหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
  • ให้คำปรึกษา เสนอแนะ และประสานงานกับองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่นในกำกับของราชการฝ่ายบริหารที่มิใช่ส่วนราชการ เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหารงานและการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ มาตรฐาน และแนวทางที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการและงานวิชาการของคณะกรรมการพัฒนา และส่งเสริมองค์การมหาชน และคณะอนุกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

4. กองขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล

มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  • เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และกำกับ ติตตามการขับเคลื่อนการให้บริการภาคธุรกิจและภาคประชาชนด้วยระบบดิจิทัล
  • สนับสนุนการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลในการเพิ่มขีดความสามารถเชิงดิจิทัลภาครัฐเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านบูรณาการข้อมูลภาครัฐ การแก้ไขอุปสรรค ความท้าทายและบริการระหว่างหน่วยงานเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ภาคธุรกิจและภาคประชาชน
  • เสนอแนะการลดอุปสรรคจากกฎหมาย กฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้ภาครัฐก้าวสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานรวมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

5. กองติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการพัฒนาระบบราชการ

มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  • ประเมินผลการปฏิบัติรายการของส่วนราชการ ติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาระบบราชการ และการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  • จัดทำและพัฒนาแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ การดำเนินงานของส่วนรวชการ และแนวทางการสอบทานผลการดำเนินงานของส่วนราชการ
  • จัดทำรายงานประจำเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ รวมทั้งรายงานการประเมินตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
  • ให้คำปรึกษา แนะนำ เสนอแนะ และประสานงานเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ การติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาระบบราชการและการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการและคณะอนุกรรมการ รวมทั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

6. กองนวัตกรรมบริการภาครัฐ

มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  • เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และกำกับ ติดตามการขับเคลื่อนกฎหมายว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ และกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  • ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนานวัตกรรมบริการภาครัฐและระบบบริหารจัดการสู่การเป็นระบบราชการ 4.0
  • กำหนดแนวทาง มาตรการ หลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารราชการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนและทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดิน การพัฒนาบริการภาครัฐและส่งเสริม สนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐนำแนวทางไปสู่การปฏิบัติ
  • เสนอแนะให้มีการปรับปรุง ทบทวน ยกเลิกกฎหมาย กฎ ระเบียบ และแนวทางปฏิบัติที่เป็นอุปสรรคต่อการอำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

7. กองพัฒนาระบบบริหารงานส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น

มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  • ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดความสัมพันธ์ และการพัฒนาบทบาทระหว่างราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น รวมทั้งพัฒนาแนวทาง มาตรการและวิธีการบริหารราชการส่วนภูมิภาค
  • ศึกษารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัด เพื่อสร้างความเข้มแข็งจังหวัดให้เป็นจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง และส่งเสริม สนับสนุนให้จังหวัดนำแนวทางไปสู่การปฏิบัติ
  • การจัดทำกรอบ แนวทาง การประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัด รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำ เสนอแนะ และประสานงานเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัด
  • สนับสนุน และประสานการดำเนินงานในการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

8. กองพัฒนาระบบราชการ 1

รับผิดชอบกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่นทางด้านเศรษฐกิจ มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  • ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เสนอแนะ และประสานงานเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม การจัดตั้ง การรวม การโอน การยุบเลิก การกำหนดชื่อ การเปลี่ยนชื่อ การกำหนดอำนาจหน้าที่ และการแบ่งส่วนราชการภายในของกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่น
  • ให้คำปรึกษา แนะนำ เสนอแนะ ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างและปรับปรุงระบบงาน การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ และการนำยุทธศาสตร์หรือมาตรการในการพัฒนาระบบราชการไปสู่การปฏิบัติของกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่น
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย

9. กองพัฒนาระบบราชการ 2

รับผิดชอบกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่นทางด้านสังคม มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  • ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เสนอแนะ และประสานงานเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม การจัดตั้ง การรวม การโอน การยุบเลิก การกำหนดชื่อ การเปลี่ยนชื่อ การกำหนดอำนาจหน้าที่ และการแบ่งส่วนราชการภายในของกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่น
  • ให้คำปรึกษา แนะนำ เสนอแนะ ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างและปรับปรุงระบบงาน การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ และการนำยุทธศาสตร์หรือมาตรการในการพัฒนาระบบราชการไปสู่การปฏิบัติของกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่น
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย

10. กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ

มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  • ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และรวบรวมข้อมูลทิศทาง แนวโน้ม ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของโลกและประเทศไทยในอนาคต เพื่อพัฒนาและเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์แผนงานและมาตรการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ
  • ศึกษา วิเคราะห์ประเด็นสำคัญหรือนโยบายเฉพาะด้านเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
  • จัดทำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการในรูปแบบดิจิทัล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ คาดการณ์ เสนอแนะนโยบาย และเปิดเผยต่อสาธารณะ
  • สร้างการรับรู้และเข้าใจให้กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชนเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ
  • ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ให้เป็นกำลังคนคุณภาพ เป็นกลไกการเปลี่ยนแปลงระบบราชการและการปฏิรูปประเทศ
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

11. กลุ่มตรวจสอบภายใน

มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  • ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชี ของสำนักงาน
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฎิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

12. กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  • เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่เลขาธิการเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในสำนักงาน
  • ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการในสำนักงาน
  • ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ และส่วนราชการในสำนักงาน
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฎิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

13. ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต

มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

  • เสนอแนะต่อเลขาธิการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของสำนักงาน ประเมินความเสี่ยงและกำหนดมาตรการบริหารความเสี่ยงเพื่อลดและปิดโอกาสการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านทุจริตและประพฤติมิชอบและการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของสำนักงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับชาติและนโยบายของรัฐบาล เสนอต่อเลขาธิการ
  • เร่งรัดและกำกับการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของส่วนราชการในสำนักงาน
  • ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรมและประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน รับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และการฝ่าฝืนจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งประสานงาน เร่งรัด และติดตามจนได้ข้อยุติ
  • ติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์ และจัดทำรายงานการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของสำนักงาน เสนอต่อเลขาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่เลขาธิการมอบหมาย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า