ข่าวสาร ก.พ.ร.

การประชุม อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม ครั้งที่ 4/2565

22 ก.ค. 2565
0

เมื่อวันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2565 สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุม อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม ครั้งที่ 4/2565 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีนายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ เป็นประธานในการประชุม ซึ่งมีการพิจารณาและรับทราบวาระต่าง ๆ ดังนี้

1. พิจารณาเห็นชอบแผนการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยมีสิทธิในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก Open Government Partnership (OGP) ทั้งนี้ ได้มีข้อเสนอแนะให้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคประชาชน ประชาสังคม การดำเนินงานของภาครัฐ และองค์กรอิสระ และนำหลักรัฐธรรมนูญหรือข้อบัญญัติต่างๆมาปรับใช้ในการรวมรวบข้อมูล ซึ่งจะนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้วางแผนในการดำเนินงานต่อไป 3 ส่วน ประกอบด้วย

1.1 แผนการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยมีสิทธิในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก ที่มีการดำเนินการ 3 ส่วน คือ 1) การจัดทำข้อมูลผลการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประเทศไทยเพื่อสร้างความเข้าใจและแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีความตั้งใจที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก จัดส่งให้ OGP 2) การจัดทำแผนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของส่วนราชการ และ 3) การขับเคลื่อนการพัฒนาระบบนิเวศของ OG&MP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประกอบด้วย กิจกรรม OpenGov Space การจ่ายค่าตอบแทนการให้บริการของระบบนิเวศ (Payment for Eco System : PES) การจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม (Participatory Budgeting : PB) การเปิดเผยข้อมูลเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษาอย่างยั่งยืน (School Open Data) รวมถึง การเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ
1.2 โครงร่างรายงาน Open Government in Thailand ซึ่งเป็นรายงานผลการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) บริบทโครงสร้างของการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย 2) การดำเนินการในปัจจุบัน โดยจะมีการยกตัวอย่างการดำเนินการตามระดับการมีส่วนร่วม เริ่มตั้งแต่ การริเริ่มกฎหมาย นโยบายต่าง ๆ ไปจนถึงการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินการของรัฐ 3) การปฏิบัติที่ดี (Best Practice) และปัจจัยความสำเร็จ (Key Success Factor) เช่น โครงการเพื่อความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (COST) ข้อตกลงคุณธรรม กิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม สภาองค์กรผู้บริโภค สมัชชาสุขภาพ เป็นต้น และ 4) ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในประเทศไทย

1.3 โครงร่างแบบสอบถามเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการพัฒนาระบบราชการ เพื่อนำไปใช้จัดเก็บ และทำฐานข้อมูล เพื่อประเมินสถานะของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของหน่วยงานของรัฐระดับกรม จังหวัด และองค์การมหาชน และวิเคราะห์หาแนวทางในการพัฒนาต่อไป ซึ่งควรมีการจัดเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพร่วมด้วย เช่น การ Focus Group หรือการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยให้ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ จะให้หารือกับผู้แทนของ UNDP ในการดำเนินการต่อไป

2. รับทราบการดำเนินการ 5 เรื่อง ประกอบด้วย

2.1 รายงานความก้าวหน้าเรื่อง การสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จังหวัดลำปาง
2.2 รายงานความก้าวหน้าเรื่อง การสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายในการจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม (Participatory Budgeting) ระดับท้องถิ่น
2.3 รายงานผลการจัดกิจกรรม MY BETTER COUNTRY HACKATHON : “อนาคตที่ออกแบบได้กับราชการไทยที่อยากเห็น”
2.4 รายงานผลการดำเนินการของหน่วยงานตามองค์ประกอบ OG&MP ที่สมัครเข้ารับรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม
ประเภทเปิดใจใกล้ชิดประชาชน (Open Governance)

2.5 บทความวิจัยเรื่อง “การวิพากษ์กระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Participation) ของกลุ่มเยาวชนภายใต้การพัฒนาภาครัฐระบบเปิดตามนโยบายรัฐบาล”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า