ข่าวสาร ก.พ.ร.

การประชุม อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการขับเคลื่อนระบบราชการเพื่ออนาคต ครั้งที่ 1/2565

9 ก.พ. 2565
0

          เมื่อวันจันทร์ที่ 7 ก.พ. 2565 สำนักงาน ก.พ.ร. จัดการประชุม อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการขับเคลื่อนระบบราชการเพื่ออนาคต ครั้งที่ 1/2565 ณ โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง และการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยได้เชิญประธาน อ.ก.พ.ร. และ อ.กพม. ที่เกี่ยวข้องร่วมหารือวาระสำคัญเกี่ยวกับ “กรอบทิศทาง เป้าหมาย และแนวทางการพัฒนาระบบราชการไทยที่เป็นรูปธรรมในระยะต่อไป (Administrative Reform in Action)”

          สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

          ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ประธาน อ.ก.พ.ร.ฯ ได้ขอให้ TDRI และและผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.พ.ร.ฯ นำเสนอผลการวิจัย แนวคิดการปฏิรูประบบราชการ และแนวโน้มในอนาคตที่จะกระทบต่อภาครัฐไทย ดังนี้

          – ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ นำเสนอสรุปผลโครงการศึกษาภาพอนาคตของภาครัฐไทย และข้อเสนอแนวทางปรับบทบาทภาครัฐไทยไปสู่รัฐเครือข่าย โดยการปรับบทบาทภาครัฐให้เอื้อต่อการสนับสนุนการสร้างเครือข่าย กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมจากภาคธุรกิจ และส่งเสริมศักยภาพของภาคประชาสังคม ลดอำนาจการควบคุมของภาครัฐ

          – ดร.วิรไท สันติประภาพ นำเสนอสรุปแนวคิดที่ได้นำเสนอในเวทีต่าง ๆ ประกอบด้วย ปัญหาสะสมของภาครัฐไทย คุณลักษณะของภาครัฐในอนาคต ซึ่งการปรับเปลี่ยน Mindset เป็นสิ่งสำคัญ หลักคิด และแนวทางในการปฏิรูปภาครัฐโดยแบ่งออกเป็นเสาการเมือง เสาโครงสร้าง เสากฎหมาย และเสาแรงจูงใจ

          – คุณเชษฐา เทอดไพรสันต์ นำเสนอแนวโน้มในอนาคตที่ภาครัฐจะต้องเตรียมการรับมือที่เรียกว่า Next “C” Crisis ได้แก่ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งขีดความสามารถภาครัฐเพียงฝ่ายเดียวอาจจะไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนอื่น โดยนำสถานการณ์โควิด-19 มาเป็นบทเรียนในการเตรียมพร้อมรองรับกับวิกฤต

         จากนั้น อ.ก.พ.ร.ฯ และผู้ทรงคุณวุฒิ ได้เสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบราชการในระยะต่อไป สรุปดังนี้

         1. ปัญหาของระบบราชการไทย

             – ขาดการบูรณาการการทำงาน และมีโครงสร้างการบริหารแบบรวมศูนย์
             – ภาครัฐมีขนาดใหญ่ มีสัดส่วนต้นทุนบุคลากรสูงและเป็นภาระในการดูแลระยะยาว ทำให้กระทบต่อสัดส่วนงบลงทุนในการพัฒนาประเทศ
             – ยังมีการทุจริตคอรัปชั่น ในขณะที่หน่วยตรวจสอบตั้งกฎกติกาที่ทำให้เกิดความไม่คล่องตัวในการทำงานในภาพรวม
             – กฎหมายล้าสมัย ไม่ยืดหยุ่น และไม่รองรับต่อการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากถูกจัดทำขึ้นตามกรอบของโลกเก่า
             – ปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัลได้ช้าและมีค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสูง เนื่องจากไม่มีความพร้อมด้านทรัพยากรและไม่มีแหล่งเงินทุนที่จะช่วยชดเชยต้นทุนดังกล่าว
             – การยึดติดกับบทบาทในการเป็นผู้ปฏิบัติมากเกินไป และการให้บริการส่วนใหญ่ยังคงใช้แนวคิด Supply-driven ซึ่งไม่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน และประชาชนไม่มีสิทธิ์เลือกรับบริการจากภาครัฐ
             – หลีกเลี่ยงความเสี่ยง ไม่กล้าทำสิ่งใหม่ สาเหตุทั้งจาก Mindset และระเบียบ กฎหมายที่แข็งตัวมากเกินไป
             – ไม่มีการศึกษาวิเคราะห์ธรรมชาติของราชการไทยในเชิงลึก เพื่อให้เข้าใจสภาพการทำงานและแนวทางการพัฒนา

         2. แนวทางแก้ไขปัญหา

             2.1 ลดบทบาทภาครัฐ ส่งเสริมบทบาทของภาคส่วนอื่น

                   – ปรับบทบาทภาครัฐให้เป็นผู้กำหนดนโยบาย สนับสนุนด้านงบประมาณ เป็นผู้ควบคุมที่เข้มแข็ง และลดบทบาทผู้ปฏิบัติ
                   – ถ่ายโอนภารกิจภาครัฐ ผลักดันให้เกิดการแข่งขันอย่างเท่าเทียม และสนับสนุนให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ
                   – พัฒนาการให้บริการแบบ Demand-driven เช่น การสนับสนุนด้านการการศึกษาโดยให้คูปองกับผู้ปกครองสามารถเลือกสถานศึกษาที่มีคุณภาพได้
                   – กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมีอิสระในการบริหารจัดการตามบริบทของพื้นที่มากขึ้น
                  
– ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างข้าราชการรุ่นใหม่-ประชาชนในพื้นที่-เอกชนในพื้นที่ ด้วยกรอบความคิด “ทำงานและเติบโตไปด้วยกัน”

             2.2 โครงสร้างและการบูรณาการการทำงานภาครัฐ

                   – หากลไกการทำงานข้ามกระทรวงในรูปแบบอื่น ๆ นอกเหนือจากกลไกการจัดตั้งคณะกรรมการ
                   – พัฒนาแนวทางการทำงานรูปแบบพิเศษให้กับหน่วยงานเชิงยุทธศาสตร์ที่เป็นมันสมองหรือที่ต้องแข่งขันกับต่างชาติ เพื่อให้มีความยืดหยุ่น ไม่ติดกับดักระเบียบ ขั้นตอน ของหน่วยงานกลาง
                  
– การปรับวิธีการทำงาน ระบบงบประมาณ และตัวชี้วัดให้เป็น Issue-based ที่สอดรับกับเป้าหมายของประเทศ

             2.3 การพัฒนาบุคลากรภาครัฐ

                   – เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ (อายุ 35 – 40 ปี) เข้ามาเป็นผู้บริหารมากขึ้น
                   – ปรับรูปแบบการทำงานให้สอดคล้องกับ Life style ของคนรุ่นใหม่
                   – สร้างข้าราชการรุ่นใหม่จากกลุ่มคนที่มีศักยภาพ เช่น การขยายผลโครงการ นปร. นักเรียนทุน และระบบ Lateral Entry
                  
– ปลูกฝังกรอบความคิด (Mindset) และทัศนคติ (Attitude) โดยเฉพาะเรื่องความโปร่งใสและการบริการดิจิทัล

             2.4 การแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน

                   – การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงาน
                  
– การสร้างระบบ Check & Balance ที่ป้องกันการทุจริต แต่ยังสร้างความคล่องตัวให้คนทำงาน

             2.5 การปฏิรูปกฎหมาย

  
               – ลดความเข้มข้นของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติราชการ และเอื้อให้เกิดกฏระเบียบ/กฏเกณฑ์ที่เหมาะสมกับแต่ละองค์กร เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เพื่อให้ข้าราชการทั้งผู้นำและผู้ปฏิบัติกล้าคิด กล้าทำ มากขึ้น

             2.6 การพัฒนาภาครัฐดิจิทัล

                  – นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในภารกิจประจำ/พื้นฐานมากขึ้น เช่น การลงบันทึกประจำวันของตำรวจด้วยระบบดิจิทัล
                 
– ภาครรัฐควรลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีและเปิดโอกาสให้ภาคส่วนอื่นมาลงทุนร่วมกัน

         3. กลไกสร้างการเปลี่ยนแปลง

             – สร้างแรงจูงใจในระบบราชการให้สมดุลกับบทลงโทษ โดยนำระบบ Risk-Reward Structure มาปรับใช้
             – สร้างหน่วยงานที่เป็นตัวอย่างในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง (Agent of Change) โดยปลดล็อคระเบียบ ขั้นตอนบางอย่างให้
            
– ใช้วิกฤตเป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

         การดำเนินการต่อไป สำนักงาน ก.พ.ร. จะสรุปความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากการประชุมยกร่างเป็น Guiding Principle และแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการในอนาคต เพื่อนำเสนอ อ.ก.พ.ร.ฯ และผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาให้ความเห็นในการประชุมครั้งถัดไป ตลอดจนนำไปรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า