ข่าวสาร ก.พ.ร.

หน่วยงานภาครัฐเร่งเครื่องพัฒนาระบบการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทางอิเล็กทรอนิกส์

5 พ.ย. 2564
0

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทางอิเล็กทรอนิกส์ ครั้งที่ 1/2564 โดยมีรองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข) เป็นประธานการประชุม โดยมีคณะทำงานที่ประกอบด้วยผู้แทนจากกรมการปกครอง กรมที่ดิน กรมธนารักษ์ กรมบังคับคดี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ทั้งนี้ที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับแผนการดำเนินการเพื่อพัฒนาระบบการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทางอิเล็กทรอนิกส์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

1. ผลการดำเนินงานในปี 2564 หลายหน่วยงานได้มีการดำเนินการเพื่อรองรับการชำระภาษีที่ดินผ่านช่องทางออนไลน์แล้ว เช่น กรุงเทพมหานคร ได้มีการพัฒนาระบบภาษีที่ดินสามารถชำระผ่านช่องทางออนไลน์ผ่าน QR Code โดยอยู่ระหว่างการพัฒนาเป็นใบเสร็จรับเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (ปัจจุบันเป็นการจัดส่งผ่านไปรษณีย์)

2. ที่ประชุมได้กำหนด Roadmap การดำเนินการออกเป็น ระยะสั้น ระยะกลางและระยาว โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สามารถขยายผลการรับชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างสมบูรณ์ ในปี 2567 โดยในปี 2565 คาดว่าจะสามารถทดลองนำร่องชำระภาษีที่ดินบน landsmaps ได้อย่างน้อย 1 อปท. รวมถึงกรุงเทพมหานครที่จะมีการพัฒนาระบบชำระภาษีที่ดินของตนเอง ทั้งนี้ กรมที่ดินจะมีการหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการนำระบบจัดการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง CU-TaXGo ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาดำเนินการในส่วนของ อปท.

3. ในปี 2565 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการจัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในแผนการบูรณาการรัฐบาลดิจิทัล ได้แก่ กรมที่ดิน การพัฒนาระบบ Landsmap ให้เกิดชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างผ่านระบบได้ รวมถึงเป็นหน่วยงานกลางในการพัฒนา Data Pool กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พัฒนาระบบ L-TAX ออนไลน์ (back office) และระบบ E-LAAS เพื่อเชื่อมโยงการใช้ประโยชน์ของฐานข้อมูลร่วมกัน กรมธนารักษ์ จัดทำระบบประเมินราคาทรัพย์สิน และจะมีการนำเทคโนโลยี Big Data Analytics และ Data Visualizations เข้ามาใช้ รวมถึงเชื่อมโยงฐานข้อมูลจากหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้อง

4. การกำหนดแผนที่ต้องดำเนินการในปี 2565 ประกอบด้วย 6 แผน คือ 1) แผนงานชำระภาษีที่ดินฯ ออนไลน์ผ่าน LandsMaps /Citizen Portal 2) แผนงานจัดทำขอบเขตปกครองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) 3) แผนงานพัฒนาระบบบูรณาการทะเบียนทรัพย์สิน 4) แผนงานจัดทำมาตรฐานชุดข้อมูลเพื่องานภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 5) แผนงานการสนับสนุนใช้ระบบรับชำระเงินออนไลน์ 6) แผนงานประชาสัมพันธ์ระบบชำระภาษีที่ดินฯ แบบออนไลน์ พร้อมทั้งกำหนดหน่วยงานเจ้าภาพของแต่ละแผนงาน

5. จากการหารือของหน่วยงานต่าง ๆ ยังพบปัญหาอุปสรรคที่ต้องมีการแก้ปัญหาร่วมกัน เช่น การกำหนดขอบเขตปกครองที่ชัดเจนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การเชื่อมโยงระบบของแต่ละหน่วยงานที่อาจมีความแตกต่างกัน ข้อกฎหมายในเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล การจัดทำใบเสร็จรับเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมาตรฐานและเป็นรูปแบบเดียวกัน เป็นต้น

ทั้งนี้ หน่วยงานเจ้าภาพจะได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินการในแต่ละแผน รวมทั้งจะได้มีการหารือเป็นกลุ่มย่อย กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินการในแต่ละประเด็นต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า