ข่าวสาร ก.พ.ร.

การประชุมหารือการสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม (Open Government and Meaningful Participation Ecosystem) ในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

12 พ.ค. 2564
0
เมื่อวันนี้ (11 พฤษภาคม 2564) ประธาน อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารงานภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม (นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์) รองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข) นายสุนิตย์ เชรษฐา อนุกรรมการฯ และเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

1) สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี
2) กรมควบคุมมลพิษ
3) กรมอนามัย
4) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
5) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
7) กรมป่าไม้
8) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช
9) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

ผลจาการประชุม สรุปได้ดังนี้

1. การเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐในเรื่องปัญหา PM 2.5 เพื่อเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจของภาครัฐ (Virtual War room) ประกอบด้วย ข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น

– ข้อมูลค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)
– ข้อมูลจุดความร้อน (Hotspot)
– ข้อมูลพื้นที่เกิดไฟไหม้ซ้ำซาก
– ข้อมูลปัญหาด้านสุขภาพชองประชาชน เช่น จำนวนผู้ป่วยจากโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ ประชากรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่
– ข้อมูลสถานที่เสี่ยงในพื้นที่ เช่น จุดก่อสร้าง พื้นที่ภาคการเกษตร พื้นที่ภาคอุตสาหกรรม พื้นที่ป่าไม้ ฯลฯ
– ข้อมูลทิศทางลม
– ข้อมูลจากภาคเอกชนและภาคประชาชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา PM 2.5 เช่น Application Bern Check , ระบบ Line Chatbot Fireman. Sensor ของภาคเอกชน ฯลฯ

2. การเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐแก่ประชาชนบนข้อมูล “ชุดเดียวกัน” และบน “แพลตฟอร์มกลาง” เดียวกัน ต้องอาศัยความร่วมมือจาก สพร. GISTDA และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการเรื่องนี้ให้ประสบความสำเร็จ

3. บทบาทการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น

– แพลตฟอร์มกลาง โดย ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า
– การสนับสนุนข้อมูล โดย กรมควบคุมมลพิษ, GISTDA, กรมอนามัย, สสส. ฯลฯ
– การเชื่อมโยงฐานข้อมูล โดย สพร.
– การเผยแพร่ข้อมูลและสร้างความตระหนัก โดยศูนย์บัญชาการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm 2.5 , กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย , กรมควบคุมมลพิษ,กรมอนามัย, GISTDA, สพร., สสส.ฯลฯ

ทั้งนี้ ที่ประชุมมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ดังนี้

1. ปัจจุบันมีการถ่ายโอนภารกิจเรื่องการป้องกันไฟป่าให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว แต่การถ่ายโอนดังกล่าว ไม่มีการให้งบประมาณให้แก่ อปท. ด้วย จึงทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

2. การแก้ไขปัญหาชุดข้อมูลที่กระจัดกระจาย สามารถดำเนินการได้โดยจัดทำระบบฐานข้อมูลตาม Agenda เพื่อนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาเผยแพร่เป็นชุดข้อมูลในเรื่องเดียวกัน เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากข้อมูล และควรให้มีการจัดทำมาตรฐานของชุดข้อมูลกลาง (Dataset) เผยแพร่ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้องในเว็บไซต์ data.go.th

3. ควรมีการบูรณาการข้อมูล โดยให้มีการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลค่า PM 2.5 จากภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาควิชาการ เพื่อเสริมข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษที่มีสถานีอยู่อย่างจำกัด โดยการหาค่ามาตรฐานและค่าเฉลี่ยของค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ที่ตรงมากขึ้น

4. สิ่งสำคัญของการเปิดเผยข้อมูล คือ ควรเป็นข้อมูลที่ประชาชนต้องการรู้และตอบโจทย์ความต้องการของคนในพื้นที่ในการนำไปใช้ประโยชน์ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาควิชาการ และภาคส่วนอื่นๆ ในการเข้ามาร่วมรายงาน และให้ข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเสริมข้อมูลของภาครัฐที่มีอยู่แล้วให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

กลุ่มงานการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า