ข่าวสาร ก.พ.ร.

การสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม Open Government and Meaningful Participation Ecosystem) ในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) และการพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง (HPO) จ. สิงห์บุรี

9 มี.ค. 2564
0
เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2564 ประธาน อ.ก.พ.ร.ภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม (นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์) รองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข) ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ (นางสาววิริยา เนตรน้อย) เจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร. กองนวัตกรรมบริการภาครัฐ และกองพัฒนาระบบการบริหารงานส่วนภูมิภาค ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) บริษัทมิตรผล จำกัด เข้าพบรองผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี (นางสุภาพรรณ หมั่นเจริญ) ณ ศาลากลางจังหวัดสิงห์บุรี เพื่อประชุมหารือเรื่องการสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) และหารือแนวทางการพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง (HPO)

ทั้งนี้ มีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ได้แก่

– สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสิงห์บุรี
– สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสิงห์บุรี
– สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสิงห์บุรี
– สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสิงห์บุรี
– สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรี
– สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี
– สำนักงานขนส่งจังหวัดสิงห์บุรี
– สำนักงานแรงงานจังหวัดสิงห์บุรี
– บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด

ผลจากการประชุม สรุปได้ดังนี้

1. การพัฒนาระบบนิเวศเพื่อสร้างเสริมภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม (Open Government and Meaningful Participation Ecosystem) 8 องค์ประกอบ ได้แก่ การเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐ การมีนโยบายและกฎหมายที่เอื้อต่อการเปิดระบบราชการ การปรับโครงสร้างองค์การ การสร้างผู้นำที่เปิดกว้าง การสนับสนุนองค์ความรู้และทรัพยากร การพัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน การติดตามนโยบายของภาครัฐ การสร้างวัฒนธรรมองค์กร

2. แนวทางการพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง (HPO) ในเรื่องการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จังหวัดสิงห์บุรี

3. แนวทางการสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จังหวัดสิงห์บุรี เช่น การเปิดเผยข้อมูลค่าฝุ่น PM 2.5 สาเหตุของฝุ่น จำนวนการเผา แหล่งที่มา ผลกระทบต่อสุขภาพ ฯลฯ การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา เนื่องด้วยปัจจุบันจังหวัดสิงห์บุรีไม่มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติแบบถาวรอยู่ในพื้นที่ จึงใช้ข้อมูลคุณภาพอากาศจากสถานีตั้งอยู่ใกล้จังหวัดสิงห์บุรีมากที่สุด ซึ่งอยู่ที่ จ.ลพบุรี ทำให้ประชาชนไม่ได้รับทราบข้อมูลคุณภาพอากาศที่แท้จริง จึงแนะนำให้มีการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมของ GISTDA ในการดูข้อมูลเรื่องจุดความร้อน (Hotspot) และ ค่าPM 2.5 เสริม เพื่อช่วยติดตามสภาพปัญหาและประเมินสภาพอากาศที่แท้จริงเพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชนได้รับทราบ

สำหรับในช่วงบ่าย คณะได้เดินทางลงพื้นที่ปลูกไร่อ้อย ณ ไร่สามพี่น้อง อ.บางระจัน จ. สิงห์บุรี เพื่อรับฟังการบรรยายจากผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานอ้อย (ภาคกลาง) (นายไพฑูรย์ ประภาถะโร) เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM 2.5 ที่บริษัทมิตรผลได้มีการรณรงค์มาอย่างต่อเนื่อง และศึกษาดูงานการจัดแปลงอ้อยรูปแบบใหม่ที่มีการเว้นระยะที่เหมาะสมต่อการนำเทคโนโลยีเข้าไปเก็บเกี่ยวอ้อย ทั้งนี้ เพื่อลดการเผาอ้อย และลดการใช้แรงงานคนที่ขาดแคลน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมภาคเกษตรเพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้สามารถทัดเทียมกับต่างประเทศได้

ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. จะดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา PM 2.5 ในเดือนเมษายน 2564 ต่อไป

กลุ่มงานการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า