1. ปัญหาด้านงบประมาณไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในงานที่ได้รับการถ่ายโอน
– งบประมาณที่ อปท. ได้รับ มาจาก 3 แหล่ง คือ (1) รายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเอง (ประมาณร้อยละ 10ของเงินงบประมาณทั้งหมด) (2) รัฐบาลจัดเก็บแล้วจัดสรรให้ท้องถิ่น และ (3) เงินอุดหนุน ซึ่งเงินอุดหนุนนี้มีมากกว่าร้อยละ 50 (รายได้จากจัดเก็บเองน้อยที่สุด)
– ปัญหาในเรื่องความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ที่แต่ละท้องถิ่นได้รับ
– รัฐส่วนกลางอาจต้องทบทวนโดยให้ท้องถิ่นต้องมีรายได้ที่พอกับค่าใช้จ่ายพื้นฐาน
– ควรมีการศึกษาการปรับโครงสร้างการจัดเก็บภาษี และขยายฐานภาษีท้องถิ่น
– หลักการ : เงินที่รัฐอุดหนุนต้องแปรผกผันกับรายได้ โดย อปท. ที่มีรายได้น้อย ควรได้เงินอุดหนุนมาก แต่ในความจริง อปท. รายได้มาก กลับได้เงินอุดหนุนมาก และมี
– ปัญหาจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปัจจุบันที่รัฐบาลมีมาตรการในการลดภาษี ส่งผลต่อรายได้ของท้องถิ่นที่ไม่เป็นไปตามประมาณการของสำนักงบประมาณ ส่งผลต่อปัญหาการจัดสรรงบประมาณ
2. ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับความรู้ความชำนาญของเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการถ่ายโอน
– หน่วยงานที่ถ่ายโอนภารกิจควรมีการเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากรของท้องถิ่นในภารกิจที่ถ่ายโอน
– สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่นมีหน้าที่จัดอบรมให้กับบุคลากรท้องถิ่นทุกสายงานและจัดอบรมทั้งปี แต่ไม่ได้จัดฝึกอบรมเฉพาะความรู้ในงานที่ถ่ายโอน ซึ่งหน่วยงานที่ถ่ายโอนจะต้องเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ อปท.
– คณะกรรมการกระจายอำนาจ ได้เคยมีการจัดฝึกอบรมโดยเก็บค่าใช้จ่ายจาก อปท. ในภารกิจที่จะกระจายอำนาจ
กลุ่มงานการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ