ข่าวสาร ก.พ.ร.

การประชมคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการขับเคลื่อนระบบราชการเพื่ออนาคต ครั้งที่ 2/2563

24 ธ.ค. 2563
0
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 ได้มีการประชมคณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการขับเคลื่อนระบบราชการเพื่ออนาคต ครั้งที่ 2/2563 โดยมีนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ เป็นประธานอนุกรรมการฯ ซึ่งการประชุมดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เข้าร่วมการประชุมและเสนอแนวทางการยกระดับขีดความสามารถของภาครัฐกับทิศทางการขับเคลื่อนระบบราชการเพื่ออนาคต 4 ประเด็น ดังนี้

1. การสร้าง Digital Government ด้วยการพัฒนาระบบข้อมูลภาครัฐ
2. การแก้ไข ทบทวน รายละเอียดของกฎหมาย กฎระเบียบ โดยต้องคำนึงถึงการประเมินผลกระทบในการออกกฎหมาย (Regulatory Impact Assessment: RIA) การประเมินผลสัมฤทธิ์เมื่อมีการบังคับใช้กฎหมายแล้ว และการทำ Regulatory Guillotine
3. รัฐให้สังคมริเริ่ม และรัฐเข้าไปเกื้อหนุน โดยให้ความสำคัญของการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
4. การปรับวัฒนธรรมการทำงาน บูรณาการร่วมกันภายในหน่วยงานภาครัฐ มีการทำงานที่ใช้นวัตกรรมใหม่ เช่น การนำ Design Thinking หรือ Sandbox มาขับเคลื่อนการทำงานร่วมกัน

โดยที่ประชุมมีข้อเสนอแนะและความเห็นเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการปลดล็อคระบบราชการไทย สรุปเป็น 4 ประเด็นสำคัญ ได้ดังนี้

1. ด้านระบบการทำงาน

-การออกแบบและสร้าง New Eco System เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงระบบและพฤติกรรม ซึ่งจะนำมาสู่การปรับเปลี่ยนระบบราชการเพื่ออนาคต
-การส่งเสริมให้เกิดรัฐบาลเปิด (Open Government) โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อลดระยะเวลา ลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ แต่สามารถเพิ่มความโปร่งใสในการทำงาน และช่วยสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ
-การบริหารความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างฝ่ายการเมือง และฝ่ายข้าราชการประจำ เพื่อให้เกิดสมดุลในการทำงานร่วมกัน ส่งผลต่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง

2. ด้านกฎหมาย
-การยกเลิกและทบทวนกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการและการปฏิบัติงานของภาครัฐ
-ผลักดันให้มีการสร้าง Law catalog เพื่อให้เห็นภาพรวมของกฎหมายก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยน และทบทวนกฎหมาย รวมทั้งควรให้มีการ ทำ Smart Search เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงกฎหมาย

3. ด้านงบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
– สร้างเครือข่ายในการทำงานร่วมกับภาคเอกชน เพื่อให้ก้าวข้ามขีดจำกัดด้านงบประมาณให้สามารถพัฒนา Project ใหม่ๆ ได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น
– ปรับปรุงระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้เข้าสู่ Digital Procurement เพื่อลดขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างและเพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินการ

4. ด้านบุคลากรภาครัฐ
-วางรูปแบบการจ้างงานในภาคราชการในอนาคต เช่น ทักษะและสมรรถนะใหม่ และการจ้างงานแบบ Contract-Based Job
-การปรับเปลี่ยน Mindset ในการทำงาน (Democratic mindset และ Management mindset) เพื่อสร้างให้เกิด Democratic Value โดยจำเป็นต้องเริ่มต้นจากผู้บริหารองค์กรลงมาสู่ผู้ปฏิบัติงาน
-การใช้ Passion เป็นเครื่องมือในการผลักดันให้ข้าราชการเกิดความรู้สึกอยากให้บริการประชาชนและปฏิบัติงานภายในองค์กร
-การลดวัฒนธรรมการทำงานในรูปแบบไซโล มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ดังนั้น จำเป็นต้องมีการออกแบบที่เหมาะสม ต้องมี Stakeholder Design และการนำรูปแบบ Agile มาใช้ในการปฏิบัติงาน

ทั้งนี้ ควรใช้เครื่องมือ sandbox เป็นกลไกในการขับเคลื่อนข้อเสนอดังกล่าวให้เป็นรูปธรรม ต่อไป

กลุ่มงานการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า