กิจกรรมปฏิรูปที่ 1 ปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานและภาครัฐไปสู่ระบบดิจิทัล
กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 การจัดโครงสร้างองค์กรและระบบงานภาครัฐให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัวและเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์
กิจกรรมปฏิรูปที่ 4 สร้างความเข้มแข็งในการบริหารราชการในระดับพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
ทั้งนี้ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดินให้ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนประเด็นสำคัญ สรุปดังนี้
1. ให้ความสำคัญกับปรับเปลี่ยนภาครัฐให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล โดยเริ่มต้นจากการจัดทำข้อมูล (Digitize Data) การพัฒนาระบบบริการประชาชนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) การปฏิบัติงานที่นำระบบดิจิทัลมาใช้ในการทำงาน และการแก้ไขระเบียบและกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าว
2. การปรับเปลี่ยนโครงสร้างให้มีความยืดหยุ่นคล่องตัว ให้ลองนำร่องดำเนินการในกระทรวง หรือหน่วยงานบางหน่วยให้สำเร็จ แล้วทำการขยายผลต่อไป สำหรับกลไกการทำงานแบบ Ad hoc ซึ่งเป็นรูปแบบที่ดีที่ควรผลักดัน ซึ่งจะเห็นได้จากตัวอย่างที่ดี เช่น ศบค. ศบศ. ทั้งนี้ในการปฏิรูประบบราชการมีหลายส่วนที่จะต้องปรับเปลี่ยน ทั้งรูปแบบหน่วยงาน รูปแบบการบริหารงานบุคคล ระบบงบประมาณ เป็นต้น
3. ขับเคลื่อนการสร้างความเข้มแข็งในการบริหารราชการในระดับพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องและขยายผลดำเนินการในทุกจังหวัด รวมทั้งการปรับวิธีคิดและวิธีปฏิบัติงานของส่วนราชการในจังหวัดต่อไป
4. การปรับเปลี่ยน Mindset ของข้าราชการและวัฒนธรรมของระบบราชการเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยทำให้การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินประสบผลสำเร็จได้