1. ปรับกระบวนการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ
– เพื่อให้ได้ นปร. ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้
– กิจกรรมกลุ่ม (2 วัน 1 คืน) เพื่อให้เห็นถึงศักยภาพและพฤติกรรมได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
2. พัฒนาหลักสูตร นปร. ในรูปแบบ Customized Program
– เพื่อพัฒนา นปร. ให้มีขีดสมรรถนะที่ครบครัน และเหมาะสมกับความต้องการของส่วนราชการ
– จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล (Individual Development Plan : IDP) เพื่อให้เห็น Gap ที่สามารถพัฒนาได้
– ปรับระบบการประเมินให้สะท้อนขีดสมรรถนะที่แท้จริง
– ปรับรูปแบบหลักสูตรให้ยืดหยุ่น เสริมด้วย e-Learning เพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาที่หลากหลาย
3. เสริมพลังให้ นปร. เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง
– เพื่อส่งเสริมให้ นปร. ที่สำเร็จจากโครงการแล้ว มีบทบาทในการพัฒนาระบบราชการได้อย่างแท้จริง
– สร้างเวทีให้ นปร. ได้ร่วมคิด ร่วมทำ เช่น Youth in Charge /ศบศ. / อ.ก.พ.ร. การขับเคลื่อนระบบราชการเพื่ออนาคต / GovLab
– สร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เพื่อเสริมพลังขับเคลื่อนการพัฒนา เช่น
กลุ่มหอการค้ารุ่นใหม่ (Young Enterpreneur chamber of commerce: YEC)
ทั้งนี้ อ.ก.พ.ร.ฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาโครงการ นปร. ซึ่งสรุปประเด็นสำคัญดังนี้
– ควรให้ความสำคัญกับการประเมินผล นปร. ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบราชการ
– พัฒนาหลักสูตรให้ลักษณะ work based learning ที่กำหนดโจทย์ให้ นปร. เสนอแนวทางแก้ไข และทำให้เห็นผล และนำแนวคิด Design thinking และ Agile team มาปรับใช้กับการพัฒนา นปร.
กลุ่มงานการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ