– การแบ่งกลุ่มความพร้อมในการจัดทำเอกสารดิจิทัล แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ดำเนินการสำเร็จ พร้อมเป็นต้นแบบให้หน่วยงานอื่น 2) กลุ่มที่สามารถออกเอกสารเป็นดิจิทัลได้ แต่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่ สพธอ. กำหนด 3) กลุ่มที่มีการให้บริการผ่านระบบ e-Services และอยู่ระหว่างพัฒนาการออกเอกสารดิจิทัล และ 4) กลุ่มที่ยังไม่มี e-Services และยังไม่สามารถพัฒนาการออกเอกสารดิจิทัลได้
– การจัดทำใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ กรมบัญชีกลางได้มีหนังสือเวียนหน่วยงานยอมรับการออกใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ ของ ร.พ.ศิริราช แล้ว อย่างไรก็ตาม หากจะมีการขยายผลใน
ร.พ. อื่น ๆ อาจจะต้องมีการพัฒนาระบบในการตรวจสอบว่าเป็นการพิมพ์ แล้วนำมาเบิกค่ารักษาซ้ำหรือไม่
– ในการแก้ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในการรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ CA ที่ใช้ในการทำลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) สพธอ. มีงบประมาณสนับสนุนหน่วยงานนำร่องสำหรับค่าใช้จ่าย CA ที่มีราคาประมาณใบละ 500 – 3,000 บาท โดยสามารถสนับสนุนได้ประมาณ 800 ใบฯ
– สพร. อยู่ในระหว่างการทำ proof of context ของการลงลายมือชื่อดิจิทัล และ production ให้ใช้งานได้จริง เนื่องจากการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีหลายรูปแบบ หลายเทมเพลต ให้ใช้ได้ต่างกัน เช่น ใบรับรองแพทย์ของศิริราช อาจต้องปกปิดข้อมูลบางส่วน หรือบางหน่วยงานยังไม่มีเทมเพลต สพร. ก็จะพัฒนาเป็น service กลาง ที่หน่วยงานจะเรียกใช้ได้ เพื่อให้การพัฒนาโปรแกรมได้เร็วขึ้น
– กรมสรรพากรมีระบบการให้บริการหนังสืออายัดทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก ไม่ต้องปริ้นออกมาเพื่อเซ็นกลับ ทำให้ได้เงินจากการอายัดบัญชีได้เร็วขึ้น โดยสรรพากร อยู่ในระหว่างการศึกษาและอาจจะนำร่องเพิ่มเติมอีก 1 ใบอนุญาต
ทั้งนี้ จากการหารือดังกล่าว ที่ประชุมมอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ ประสานหน่วยงาน สพร. และสพธอ. เพื่อจัดทำปฏิทินการดำเนินการโดยละเอียด ในการลงพื้นที่ไปยังหน่วยงานเพื่อร่วมดำเนินการกับหน่วยงานในเชิงเทคนิค รวมทั้งผลักดันการออกเอกสารใบมอบอำนาจในรูปแบบดิจิทัลให้ประสพความสำเร็จต่อไป)