ข่าวสาร ก.พ.ร.

สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับธนาคารโลก จัดการประชุมเพื่อนำเสนอผลการศึกษาและข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจในประเทศไทยตามแนวทางการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ (Doing Business) ของธนาคารโลก

12 ก.ค. 2562
0
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2562 สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับธนาคารโลก จัดการประชุมเพื่อนำเสนอผลการศึกษาและข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจในประเทศไทยตามแนวทางการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ (Doing Business) ของธนาคารโลก ใน 3 ด้าน คือ ด้านการขอใช้ไฟฟ้า ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ และด้านการจดทะเบียนทรัพย์สิน โดยมี นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นประธาน และผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลก Mr. Karim Ouled Belayachi (Senior Private Sector Specialist)

ธนาคารโลกชี้แจงการดำเนินงานของธนาคารโลก ดังนี้

1. การทำงานของทีมธนาคารโลกแบ่งออกเป็น 2 ทีมหลัก คือ ทีมเก็บข้อมูลเพื่อประเมินจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ (Doing Business Team) และทีมให้คำปรึกษาแนะนำ (Advisory Team) ซึ่งจะทำหน้าที่รับผิดชอบที่เป็นอิสระต่อกัน

2. การเก็บข้อมูลเพื่อจัดอันดับ Doing Business จะเน้นข้อมูลจากภาคเอกชนเป็นหลัก (Private sector oriented)

3. การศึกษาของธนาคารโลกจะช่วยชี้ให้เห็นถึงช่องว่างหรือโอกาสในการปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น และให้ข้อเสนอแนะทางเลือกและตัวอย่างการดำเนินการในประเทศต่าง ๆ ที่มีแนวทางปฏิบัติที่ดี ที่ประเทศไทยสามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายต่อไป โดยควรคำนึงถึงข้อดี ข้อด้อย และประโยชน์ที่จะได้รับ

ด้านการขอใช้ไฟฟ้า นำโดย นายรงค์เพชร เขาเรียง ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง
จากรายงาน Doing Business 2019 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 6 ในด้านการขอใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดอย่างมาก

-ข้อเสนอแนะการปรับปรุงระยะสั้น ได้แก่ การเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการผ่านระบบออนไลน์ เพิ่มบริการนัดหมายการตรวจสอบการเดินสายไฟภายในอาคารในระบบบริการออนไลน์ จัดให้มีการติดตามตรวจสอบการให้บริการให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด (SLA) อย่างเคร่งครัด และมีการลงโทษหากไม่สามารถดำเนินการได้ รวมทั้งพิจารณาความเป็นไปได้ในการลดค่าใชจ่ายในการวางเงินค้ำประกัน (Security Deposit) และลดค่าธรรมเนียมการเชื่อมต่อ (Connection Chart)
-ในระยะยาว ควรสนับสนุนให้ผู้รับเหมาเดินสายไฟที่ขึ้นทะเบียนกับการไฟฟ้านครหลวงเป็นผู้รับผิดชอบการเดินสายไฟภายในอาคาร พิจารณาการใช้ Smart Meter และขยายบริการผ่านระบบออนไลน์สู่ภูมิภาค

ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ นำโดย นายพูนพงษ์ นัยยาภากรณ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า นายเมธา พันธ์พีระพิชย์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศ สำนักงานประกันสังคม และนางธัญญรัตน์ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา นักวิชาการสรรพากรชำนาญการ กรมสรรพากร

-ข้อเสนอระยะสั้น ได้แก่ การศึกษาเพื่อพัฒนาระบบจดทะเบียนออนไลน์ ปรับลดทุนจดทะเบียน
-สำหรับระยะยาวควรมีการสื่อสารสร้างการรับรู้ให้มากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนในอัตราเดียว (Flat Rate) และการลดค่าธรรมเนียมหากจดทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ให้มากขึ้น วางแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการจดทะเบียนธุรกิจเพื่อรักษาคุณภาพ ความน่าเชื่อถือ และความโปร่งใส รวมทั้งยกระดับบริการระบบจดทะเบียนออนไลน์ให้เชื่อมโยงและครอบคลุมบริการมากขึ้น

ด้านการจดทะเบียนทรัพย์สิน นำโดย นางสาวรัชนี ด้วงฉิม ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการพัฒนากรมที่ดิน และนางนงลักษณ์ จันทร์ดำ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

-ข้อเสนอระยะสั้น ได้แก่ การพิจารณาลดค่าธรรมเนียมการโอนทรัพย์สิน พัฒนาเครื่องมือเพื่อประเมินค่าใช้จ่ายในการโอนทรัพย์สิน ยกเลิกการขอสำเนาเอกสารการจดทะเบียนนิติบุคคล
-ส่วนระยะยาวให้มีการจัดเก็บข้อมูลทะเบียนทรัพย์สินในรูปแบบเอกสารดิจิทัล พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินเพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจ เช่น การจำนอง การฟ้องร้องในที่ดิน รวมทั้งควรมีการบูรณาการระบบจดทะเบียนให้สามารถดำเนินการได้ทุกที่ พัฒนากลไกการชดเชยความเสียหายที่เกิดจากความผิดพลาดในการทำงานของเจ้าหน้าที่ โดยมีบุคคลภายนอกเป็นผู้การพิจารณาค่าเสียหาย และจัดทำข้อมูลที่ดินภาคเอกชนให้สมบูรณ์

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลกยังแสดงความชื่นชมหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในวันนี้ที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจในการปรับปรุงการบริการเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการประกอบธุรกิจ ซึ่งเห็นได้จากผลการดำเนินงานการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องในรายงาน Doing Business

กลุ่มงานเลขานุการ ก.พ.ร. และการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า