จากการประชุมมีการนำเสนอกระบวนการ Design Thinking
ซึ่งมี 5 ขั้นตอน (เข้าใจ ตั้งโจทย์ ระดมความคิด สร้างแบบจำลอง และทดสอบ) เพื่อการจัดทำต้นแบบนวัตกรรม ซึ่งจากการระดมความคิดพบว่ามีต้นแบบนวัตกรรม 3 ต้นแบบ เพื่อนำไปใช้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม อำนวยความสะดวกในการให้บริการด้านการท่องเที่ยว ได้แก่
โดยกรมการท่องเที่ยวสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ในการนำข้อมูลไปต่อยอดเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมมัคคุเทศก์ ธุรกิจนำเที่ยว และแหล่งท่องเที่ยวได้
2) Learning Platform สำหรับการพัฒนาศักยภาพของมัคคุเทศก์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของมัคคุเทศก์ที่มีคุณภาพ เข้าถึงได้ง่าย และมีเนื้อหาที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์
จากการประชุมหารือ พบว่ามีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ดังนี้
ด้านการพัฒนาระบบออนไลน์
– การพัฒนาระบบออนไลน์ ควรออกแบบเพิ่มเติมให้มี User friendly Interface และควรเพิ่มเติมระบบลงทะเบียนในรูปแบบ single sign on ในการเข้าระบบออนไลน์ทั้งด้าน Job Order และ
ด้าน Job Matching
– นอกจากการพัฒนาในรูปแบบออนไลน์จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานระบบทั้งมัคคุเทศก์ และผู้ประกอบการ ควรมีการสร้างการรับรู้ให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจ
– ในระบบ Job Order ควรให้สิทธิของมัคคุเทศก์ในการแก้ไข/เปลี่ยนแปลงข้อมูลในระบบการจดทะเบียนในรูปแบบบุคคลธรรมดา แต่ต้องอยู่ในการควบคุมของบริษัทในการแจ้งต้นสังกัดให้ทราบข้อมูล เพื่อเอื้ออำนวยต่อบริษัทต้นสังกัดในการส่งต่อถึงระบบประกันในต่างประเทศ
ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่าง ๆ ต้องมีการรับทราบข้อมูล และส่งต่อข้อมูลให้ต้นสังกัด
– ระบบ Online Learning Platform สำหรับการพัฒนาศักยภาพของมัคคุเทศก์ ควรเพิ่มข้อมูลสวัสดิการต่าง ๆ ให้กับมัคคุเทศก์
ด้านกฎหมาย
– ยกร่างระเบียบข้อกฎหมายด้านมัคคุเทศก์ให้เหมาะสมกับการพัฒนาระบบ เช่น การเชื่อมโยงข้อมูลระบบมัคคุเทศก์กับข้อมูล ตม ในส่วนของที่พัก และข้อมูลตำรวจท่องเที่ยว หรือการจับกุมมัคคุเทศก์ที่อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงของประเทศไทย
– การบูรณาการในส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งด้านภาครัฐ ภาคเอกชน เช่น จัดตั้งเป็นคณะอนุกรรมการ เพื่อแก้ไขปัญหาแต่ละจุดได้ตรงประเด็น
กลุ่มงานเลขานุการ ก.พ.ร. และการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ