“น้ำ” ปัจจัยสำคัญของการดำรงชีวิต สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความอยู่ดีกินดีของคนไทยทุกคน ดังนั้น การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความยั่งยืนต้องเป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาครัฐที่เกี่ยวข้องต้องเร่งทำงานร่วมกันในการบริหารจัดการน้ำและอนุรักษ์ฟื้นฟูน้ำทั้งระบบ
การทำงานร่วมกันของทุกฝ่ายจึงเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการน้ำ ตั้งแต่ช่วยกันหารูปแบบและวิธีดำเนินการแก้ปัญหาแบบบูรณาการในทุกมิติ การบริหารจัดการน้ำให้เกิดความสมดุลทั้งในการอุปโภค บริโภค เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำของประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความมั่นคงด้านน้ำ รวมถึงการที่แม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพให้มีระบบนิเวศที่ดี
โดยมีหน่วยงานหลัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ ประกอบด้วย
- หน่วยงานหลัก จำนวน 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมทรัพยากรน้ำ
- หน่วยงานสนับสนุน จำนวน 24 หน่วยงาน ได้แก่ กรมชลประทาน กรมปศุสัตว์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมประมง สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมที่ดิน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมควบคุมมลพิษ กรมทรัพยากรธรณี กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมอุตุนิยมวิทยา กรมเจ้าท่า กรมอนามัย กรมควบคุมโรค กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมธนารักษ์ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี การประปาส่วนภูมิภาค องค์การจัดการน้ำเสีย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ และกรุงเทพมหานคร
- จังหวัดที่อยู่ใน 6 ลุ่มน้ำสำคัญ 27 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี อุทัยธานี สมุทรสาคร นครปฐม สุพรรณบุรี อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ลำพูน เชียงใหม่ กำแพงเพชร ตาก จันทบุรี ตราด และระยอง