ข่าวสาร ก.พ.ร.

การประชุม อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม ครั้งที่ 6/2565

29 ธ.ค. 2565
0
การประชุม อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม ครั้งที่ 6/2565

เมื่อวันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม 2565 สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุม อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม ครั้งที่ 6/2565 ณ ห้องประชุม ก.พ.ร. ชั้น 5 สำนักงาน ก.พ.ร. และผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีนายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ เป็นประธานในการประชุม ซึ่งมีการพิจารณาและรับทราบวาระต่าง ๆ ดังนี้

1. พิจารณาเห็นชอบแนวทางการส่งเสริมและยกระดับภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (Open Government and Meaningful Participation Ecosystem : OG & MP) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1.1 การผลักดันให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก OGPs โดยสำนักงาน ก.พ.ร. อยู่ระหว่างการศึกษาและรวบรวมข้อมูลสถานะภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ โดยจะดำเนินการจัดทำร่างรายงาน Open Government in Thailand เสนอต่อ อ.ก.พ.ร.ฯ ในครั้งต่อไป
1.2 การเสริมสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (OG & MP) โดยการถอดบทเรียนการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ของจังหวัดลำปาง และขยายผลการดำเนินการไปยังจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งดำเนินการพัฒนาแพลตฟอร์มฯ “บอกเรา ถึงรัฐ” ให้มีความสมบูรณ์ และนำไปใช้ในการจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม ระดับท้องถิ่น จังหวัดชลบุรี พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพมหานคร ต่อไป
1.3 การเปิดพื้นที่สาธารณะให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนางานภาครัฐ (Open Gov Space) โดยการจัดนิทรรศการ การสนทนากลุ่ม และ/หรือการร่วมพูดคุย (Minitalk) ในประเด็นที่อยู่ในความสนใจของประชาชน หรือ Agenda สำคัญ เช่น PM 2.5 , Climate Change , BCG มารับฟังความคิดเห็นในพื้นที่ของภาครัฐ เช่น โรงเรียนมีชัยพัฒนา ห้องสมุด ศูนย์บริการร่วม (G-Service point) เพื่อสร้างความใกล้ชิดระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชน และร่วมออกแบบแนวทางการแก้ไขที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
1.4 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Participation) โดยการพัฒนาช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยวางยุทธศาสตร์การออกแบบแพลตฟอร์มการมีส่วนร่วม ตามช่วงวัยและอาชีพที่แตกต่างกัน รวมทั้งศึกษาพฤติกรรมของผู้ที่เข้ามาใช้งาน เพื่อให้ประชาชนเข้ามาใช้ประโยชน์และเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น
1.5 การเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (OG & MP) เช่น E-book คู่มือฯ คลิปวีดิโอ ตัวอย่างการสร้างการมีส่วนร่วมของภาครัฐใน Agenda สำคัญ ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และปรับเปลี่ยนทัศนคติ (Mind set) ให้เกิดการยอมรับในการเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการกับภาครัฐมากยิ่งขึ้น
1.6 การพัฒนาหน่วยงานต้นแบบ (ฺฺBest Pracice) โดยการส่งเสริมให้หน่วยงานสมัครเข้ารับรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทเปิดใจใกล้ชิดประชาชน เพื่อพัฒนาและขยายผลภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมให้มากขึ้น รวมทั้งให้หน่วยงานออกหลักเกณฑ์ในการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานตนเอง
1.7 การร่วมขับเคลื่อนจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง (High Performance Provinces) โดยคัดเลือก Agenda สำคัญมาดำเนินการ ในเรื่อง BCGs จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามแผนการปฏิรูปประเทศ

2. รับทราบการดำเนินการ 4 เรื่อง ประกอบด้วย

2.1 รางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประจำปี 2566
2.2 รายงานผลการขับเคลื่อนข้อเสนอจากกิจกรรม MY BETTER COUNTRY HACKATHON ครั้งที่ 12 : ส่งเสียง ออกไอเดียปรับโฉมบริการภาครัฐให้ตอบโจทย์ตรงใจ
2.3 การลงพื้นที่นำร่องใช้แพลตฟอร์ม “บอกเรา ถึงรัฐ” ในเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
2.4 กำหนดการลงพื้นที่เพื่อถอดบทเรียนและการขยายผลการพัฒนาระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ณ จังหวัดลำปาง และ จังหวัดเชียงใหม่

NEXT STEP : ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดำเนินการส่งเสริมและยกระดับภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายตามแผนฯ โดยดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ อ.ก.พ.ร. ที่เกี่ยวข้องต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า