ข่าวสาร ก.พ.ร.

การประชุมหารือแนวทางการดำเนินการยกระดับการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจตามข้อเสนอ Ten for Thailand

3 ก.พ. 2566
0
การประชุมหารือแนวทางการดำเนินการยกระดับการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจตามข้อเสนอ Ten for Thailand

สำนักงาน ก.พ.ร. นำโดย นายณัฏฐา พาชัยยุทธ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ ได้จัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังความคิดเห็นและหารือแนวทางการดำเนินการยกระดับการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ในแต่ละประเด็นตามข้อเสนอ Ten for Thailand ร่วมกับผู้แทนจากหอการค้าต่างประเทศในประเทศไทย ในระหว่างเดือนมกราคม – เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้

         1. เรื่องการปรับปรุงกระบวนการขอใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ประชุมร่วมกับสภาหอการค้าอังกฤษแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 สาระสำคัญมีดังนี้

  • จัดทำและเผยแพร่เกณฑ์การพิจารณาที่ชัดเจน กิจการประเภทใดที่เข้าเกณฑ์การขอใบอนุญาตฯ เพื่อเป็นแนวทางให้นักลงทุนต่างชาติในการขอใบอนุญาตฯ และสร้างความโปร่งใสในการพิจารณาของเจ้าหน้าที่รัฐ
  • ยกเว้นหรือลดระยะเวลาการดำเนินการขอใบอนุญาตฯ สำหรับบางกรณี เช่น ผู้ที่เคยได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มาแล้ว ผู้ที่เคยได้รับใบอนุญาตฯ แล้วและต้องการจะขอใบอนุญาตฯ ใหม่ซึ่งมีลักษณะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับใบเดิม เป็นต้น
  • ปรับปรุงขั้นตอนการขอใบอนุญาตฯ ให้เร็วขึ้น โดยจัดทำคู่มือแนวทางการจัดทำเอกสารประกอบการยื่นให้ชัดเจน วิธีการประมาณการรายได้และรายจ่ายของบริษัท อนุญาตให้ยื่นเอกสารเป็นภาษาอังกฤษได้ และเพิ่มจำนวนคำขอที่จะพิจารณาในแต่ละรอบให้มากขึ้น

 2. เรื่องการขยายสิทธิการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ประชุมร่วมกับหอการค้าออสเตรเลีย-ไทย เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566 สาระสำคัญมีดังนี้

  • ขยายความครอบคลุมของการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล และศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC)
  • เพิ่มความชัดเจนของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับการส่งเสริมการลงทุน โดยจัดทำและเผยแพร่คู่มือเพื่อชี้แจงให้นักลงทุนต่างชาติเข้าใจว่ากิจการใดที่เข้าเกณฑ์การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • ควรมีช่องทางในการเสนอกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่อยู่ในบัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุน เนื่องจากปัจจุบันมีประเภทธุรกิจใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากซึ่งอาจอยู่นอกเหนือจากเกณฑ์ที่ BOI กำหนดไว้

  3. เรื่องการปรับปรุงการค้าผ่านแดนให้เป็นดิจิทัล ประชุมร่วมกับหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 สาระสำคัญมีดังนี้

  • ปรับลดขั้นตอนการค้าผ่านแดนและพิธีการศุลกากรให้สะดวกรวดเร็วขึ้นและเป็นดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ แทนการยื่นเอกสารในรูปแบบกระดาษ
  • ปรับปรุงระบบ NSW ให้สอดคล้องกับ FTA เกี่ยวกับสิทธิทางภาษีศุลกากร
  • เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกรมศุลกากร กรมสรรพสามิต และกรมสรรพากร เพื่อลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน
  • ส่งเสริมการจัดทำ FTA ร่วมกับประเทศอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

  4. เรื่องการเข้าถึงและการพัฒนาแรงงานฝีมือ ประชุมร่วมกับหอการค้าอเมริกันในประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 สาระสำคัญมีดังนี้

  • ขยายสายงานเป้าหมายใน LTR visa เพื่อดึงดูดกลุ่มแรงงานทักษะสูงต่างชาติ ได้แก่ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สายงานสนับสนุน ท่องเที่ยวและบริการ อุตสาหกรรมการผลิต สาธารณสุข การเงินและการลงทุน ไอที
  • ปรับปรุงกระบวนการขอวีซ่าและใบอนุญาตทำงานให้ง่ายขึ้นและเป็นดิจิทัล ควรเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเนื่องจากใช้เอกสารประกอบการยื่นที่คล้ายคลึงกันอยู่แล้ว
  • ปรับปรุงระยะเวลาการรายงานตัว 90 วัน และสัดส่วนการจ้างแรงงานไทยต่อแรงงานต่างชาติ 4:1 สำหรับชาวต่างชาติที่ไม่มี LTR visa

ในการดำเนินการขั้นต่อไป สำนักงาน ก.พ.ร. จะนำข้อเสนอแนะที่ได้จากหอการค้าต่างประเทศไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเสนอรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) ต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า