กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ที่สำนักงาน ก.พ.ร. จัดขึ้น โดยหยิบยกเครื่องมือ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ที่มีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน
AI คืออะไร และทำอะไรได้บ้าง
AI ก้าวกระโดด: จาก ‘สมองกล’ สู่ ‘สมองเหนือมนุษย์’ โฉมหน้า AI สุดล้ำ 3 ขั้นตอนในการพัฒนา:
1. ANI – “AI เฉพาะทาง” มีความสามารถเฉพาะด้าน เช่น การจำแนกภาพ การแปลภาษา
2. AGI – “AI อัจฉริยะ” มีความสามารถในการเรียนรู้ และทำความเข้าใจ คิด วิเคราะห์ได้เหมือนมนุษย์
3. ASI – “AI เหนือมนุษย์” ฉลาดกว่าคนในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา หรือ การตัดสินใจ
ปัจจุบันเราอยู่ในยุค ANI แต่นักวิจัยกำลังเร่งสร้าง AGI ส่วน ASI ยังเป็นเป้าหมายและมีประเด็นถกเถียงถึงผลกระทบในอนาคต
ประโยชน์ของ AI ช่วยภาครัฐทำงานเชิงรุก วิเคราะห์พฤติกรรมประชาชน คาดการณ์ปัญหา และตอบสนองความต้องการได้ตรงจุด
1. เพิ่มประสิทธิภาพบริการ:
• Chatbot ตอบคำถาม 24/7
• ระบบจัดการข้อมูลอัจฉริยะ
• ลดขั้นตอน เร่งความเร็วบริการ
2. วิเคราะห์ Big Data:
• วางแผนกลยุทธ์แม่นยำ
• ตัดสินใจบนฐานข้อมูลจริง
3. สร้างบริการใหม่:
• นวัตกรรมตอบโจทย์ประชาชน
• ยกระดับคุณภาพชีวิต
4. เพิ่มการมีส่วนร่วม:
• เชื่อมโยงภาครัฐ-ประชาชน
• รับฟังเสียงสะท้อนแบบ Real-time
กรมสรรพากร ใช้ AI พลิกโฉมการจัดเก็บภาษี
• ช่วยตอบคำถามทั่วไปได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ลดภาระเจ้าหน้าที่
• AI ช่วยตรวจสอบภาษี โดยสามารถสแกนโซเชียลมีเดียเพื่อตรวจจับการค้าขายออนไลน์และเชื่อมโยงรายได้ของผู้ค้า
• ใช้เทคนิค Web Scraping ดึงข้อมูลจากเว็บไซต์ e-commerce เพื่อวิเคราะห์การทำธุรกรรม
• เชื่อมโยงข้อมูลจากสถาบันการเงินเพื่อตรวจสอบรายได้ผู้เสียภาษี โดยเฉพาะบัญชีที่มีการโอนเงิน เข้าบ่อยครั้งหรือมียอดรวมสูง
