ข่าวสาร ก.พ.ร.

การประชุมขับเคลื่อน เรื่อง การจ่ายค่าตอบแทนการให้บริการของระบบนิเวศ (PES) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)

21 ก.พ. 2565
0

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 ประธาน อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารงานภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม (นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์) รองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข) อนุกรรมการ (นายสุนิตย์ เชรษฐา และนางสาวธีรดา ศุภะพงษ์) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) รองผู้อำนวยการ สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ด้านการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ (รศ.ดร.สุดสวาท ดวงศรีไสย์) และ นักวิชาการระดับกลาง (ดร.ปีย์ชนิตว์ เกษสุวรรณ)UNDP แห่งประเทศไทย หัวหน้าโครงการ UNDP Accelerator Labs (นางสาวอภิญญา สิระนาท) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ผู้ช่วยอธิการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ผศ.ดร. ปิติพงษ์ ยอดมงคล) ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ (ผศ.ดร.พลภัทร เหมวรรณ) และภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ (รศ.ดร.เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล) และหัวหน้าทีมผู้ชนะการแข่งขัน Virtual Hackathon โครงการ JUMP Thailand 2021 โดย AIS และ โครงการ FAIPA HACKATHON โดย GISTDA (นายธีธัช รังคสิริ) และหน่วยงานภาคเอกชน ได้แก่ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เหมืองแม่เมาะ โรงงานปูนซีเมนต์ไทย ลำปาง บริษัท SCG ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด สรุปการประชุมได้ ดังนี้

         1. แพลตฟอร์ม “อนุรักษ์” เป็นแพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่สนับสนุนการอนุรักษ์ระบบนิเวศด้วยกลไกทางเศรษฐศาสตร์ ภายใต้หลักการสากล “การตอบแทนคุณบริการระบบนิเวศ (PES)” ระหว่างผู้รับบริการระบบนิเวศหรือผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ให้บริการระบบนิเวศหรือผู้ที่ทำหน้าที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมร่วมกันโดยสมัครใจ โดยมีกลไกการดำเนินการ คือ การจับคู่ระหว่างภาคเอกชนที่พร้อมจะจ่ายให้กับชุมชนที่พร้อมจะดูแลรักษาระบบนิเวศและป้องกันปัญหาต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น ดูแลรักษาป่าต้นน้ำ การป้องกันไฟไหม้ การสร้างฝาย การทำแนวกันไฟ ฯลฯ โดยมีระบบการรายงานและติดตามประเมินผลที่มีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรายงานผลอย่างชัดเจน

         2. “แอปพลิเคชัน DEFIRE เป็น แอปพลิเคชันเพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการเผา 3 วิธี ประกอบด้วย

             1) แก้ปัญหาการเผาไร่ โดยการสร้างแรงจูงใจด้วยวิธีการซื้อขาย Carbon Credit โดยมีกระบวนการทำงาน คือ ให้เกษตรกรลงทะเบียนเลิกเผา และใช้ข้อมูลดาวเทียมในการตรวจสอบว่าเกษตรกรเลิกเผาจริงหรือไม่ และนําไปคํานวณ Carbon Credit และจากนั้นจึงนำ Carbon Credit ไปขายให้แก่ภาคเอกชนที่ต้องการ Carbon Offset เมื่อได้เงินจะเปลี่ยนรูปแบบค่าตอบแทนให้เกษตรกรเป็น Carbon Point ที่สามารถแลกเป็นเงินสด เกษตรภัณฑ์ และใช้ค้ำประกันเงินกู้ได้
             2) ระบบบริหารจัดการ Logistic ของการขนส่งชีวมวล (Agri-waste Management) “Grab เวอชั่นเศษพืช” เกษตรกรสามารถลงทะเบียนเพื่อทำการขายเศษพืชได้ โดยจะมีการรวบรวมส่งให้กับโรงงานที่เป็นโรงไฟฟ้าชีวมวลหรือโรงงานสิ่งทอ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ในด้านของโรงงาน จะมีข้อมูลดาวเทียมจะถูกใช้ในการตรวจสอบแปลงในระบบเพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการชีวมวลในโรงงานได้
             3) ระบบการติดตาม MaaS (Monitoring as a Service) ที่มีการทำงานหลัก 3 ฟังก์ชั่น ที่ให้ภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ และภาคเอกชน ในการใช้บริการ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

                 (1) MaaS สำหรับการเผาไร่ โดยสามารถใช้งานได้ดังนี้ (1) การคาดการณ์การเกิดการเผาไร่ (Forecast) (2) การคำนวณการลดปริมาณ Carbon ของพื้นที่ในระบบ และ (3) สามารถติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ได้
                 (2) MaaS สำหรับการเผาป่า โดยสามารถใช้งานได้ดังนี้ (1) การคาดการณ์การเกิดไฟป่าในพื้นที่ (Forecast) (2) ใช้ระบบโดรนในการติดตามตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อแจ้งเตือนการเกิดไฟป่า และ (3) การคาดการณ์บริเวณที่ไฟสามารถลุกลาม

         3. แนวทางการสร้างระบบนิเวศป่าไม้ ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ (1) การลดการทำลายป่า โดยการลดการเผาป่า สร้างอาชีพใหม่ให้เกษตรกร และสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเผา (2) การป้องกันไฟที่เกิดจากการเผานอกพื้นที่ป่าและลามไปยังพื้นที่ป่า โดยการจัดทำป่าชุมชน ทำแนวกันไฟ การลาดตระเวน (3) การเพิ่มพื้นที่ป่า โดยการปลูกป่า หรือปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืชการเกษตรระยะสั้น เช่น ข้าวโพด เป็นการปลูกไม้ยืนต้น เช่น อโวคาโต (4) การปลูกป่าเปียกเพิ่มเติม เพื่อลดการเกิดไฟป่า

         4. ปัจจุบันภาคเอกชนได้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหา PM 2.5 อยู่แล้ว เช่น บริษัท SCG มีการทำงานร่วมกับชุมชนภายใต้โครงการ “ชุมชนต้นแบบลดการเผา” โดยมีการสนับสนุนให้ยืมเครื่องอัดฟาง เชือกรัดฟาง และการซ่อมบำรุงเครื่องอัดฟาง ส่วนโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เหมืองแม่เมาะ มีการจัดหน่วยเคลื่อนที่เร็ว หน่วยลาดตระเวน จัดทำแนวกันไฟ รวมทั้งการจัดทำป่าชุมชน ซึ่งกลไก PES เป็นเครื่องมือที่จะมาช่วยสนับสนุนเทคโนโลยีด้านแพลตฟอร์ม โดยมีภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย ซึ่งจะทำให้สามารถวัดและเห็นผลเป็นรูปธรรมได้ชัดเจนขึ้น

         5. การดำเนินการในระยะต่อไป คือ ศึกษาแผนการดำเนินการของภาคเอกชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM 2.5 พร้อมทั้งประชุมหารือกับภาครัฐและภาคเอกชนคัดเลือกพื้นที่นำร่องเพื่อดำเนินการในเรื่อง PES

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า