เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (วันที่ 5 มี.ค. 66) สำนักงาน ก.พ.ร. จัดกิจกรรม OpenGov Space “Open Story ครั้งที่ 2 : ก้าวต่อไปหลังการใช้ข้อมูลเปิดต้านทุจริต” ณ ห้องปัญญาภิรมย์ ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย และทางไลฟ์สด Facebook page : Opengovthailand
ร่วมแชร์ประสบการณ์จากภาคส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ในหัวข้อ “ก้าวต่อไปหลังการใช้ข้อมูลเปิดต้านทุจริต”
- คุณทวิชาติ นิลกาญจนา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
- คุณธนิสรา เรืองเดช CEO & Co-Founder บริษัท Punch Up WORLD จำกัด
- คุณณัฐภัทร เนียวกุล หัวหน้าฝ่ายข้อมูลเปิดเพื่อความโปร่งใส บริษัท แลนด์วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด
สรุปประเด็นได้ดังนี้
ความหมายของคำว่า “Corruption” หรือ “ทุจริต” คือการที่เบียดเบียน เอาเปรียบคนอื่น หรือการโกง ทำให้ตนเองได้ประโยชน์และผู้อื่นเสียประโยชน์ ยกตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นภาพชัดขึ้น เช่น การแซงคิว ก็คือการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น การขี่จักรยานยนต์บนทางเท้า ก็ถือว่าเป็นการเอาเปรียบทางสังคมเช่นกัน
ประเภทของทุจริต
- ทุจริตที่มีความผิดทางกฎหมาย เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐเบียดบังทรัพย์ของทางราชการ หรือการเอื้อประโยชน์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- ทุจริตที่ไม่มีความผิดทางกฎหมาย แต่ไม่ถูกต้องหลักศีลธรรม ไม่มีกฏหมายบังคับ เช่น การแซงคิว
สถานการณ์การทุจริตในประเทศไทย ประเมินได้ดังนี้
- 60% เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่แต่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง
- 40% การโกงเงิน การทุจริตหรือการเบียดบังทรัพย์สินของรัฐ
ประเทศไทยนำ CPI (Corruption Perceptions Index) หรือดัชนีการรับรู้การทุจริต มาวัดระดับการทุจริต และยังมีอีก 180 ประเทศที่นำ CPI มาวัดระดับทุจริตเหมือนกัน ซึ่งประเทศไทยได้คะแนน 36 เต็ม 100 อยู่ในเกณฑ์ที่น้อย แต่มี 120 ประเทศที่ยังต่ำกว่า 50 คะแนนเช่นกัน
การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ เป็นส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนางานกับภาครัฐ และสามารถตรวจสอบติดตามได้ สามารถทำให้การทำงานของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3 ด้านในการเปิดเผยข้อมูล (Open Data) ให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) คือการปราบปราม การตรวจสอบทรัพย์สิน และการป้องกัน ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >> https://www.nacc.go.th
การประเมินคุณธรรม และความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประยุกต์มาจากประเทศเกาหลีใต้ ผ่านระบบประเมินแบบออนไลน์ และมีมติ ครม. บังคับเข้าร่วมการประเมิน ITA โดยวัดความโปร่งใสจากคำถาม 30 ข้อ 30 คะแนน
การเปิดเผยข้อมูล (Open Data) ควรปรับเปลี่ยนจากไฟล์ PDF เป็นไฟล์ Xsl. Csv. Docx. ที่ประชาชนสามารถดาวน์โหลดและนำไปใช้ได้เลย
ตัวอย่างช่องทางการตรวจสอบและเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐ
- https://data.go.th
- https://actai.co
- https://theyworkforus.elect.in.th/
“Anti Corruption หยุดการทุจริตด้วยพลังของประชาชน”
แล้วพบกันใหม่ในครั้งหน้ากับกิจกรรม OpenGov Space : Open Story ครั้งที่ 3 เรื่องการมีส่วนร่วมของผู้หญิง ในฐานะผู้นำองค์กร ในวันอาทิตย์ที่ 19 มี.ค. 66 นี้ ที่นี่เลยจ้า
กดติดตามเพจ Opengovthailand เพื่อไม่ให้พลาดข่าวสารและกิจกรรมดี ๆ ที่คุณก็สามารถร่วมขับเคลื่อนและพัฒนาภาครัฐกันนะคะ