ข่าวสาร ก.พ.ร.

การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)

9 ม.ค. 2568
0

เมื่อวันอังคารที่ 7 มกราคม 2568 เวลา 09.30 น. สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุมเรื่องการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ณ ห้องประชุม 501 – 502 ชั้น 5 สำนักงาน ก.พ.ร. โดยมีนายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม (ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. …. และผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) เป็นประธานการประชุม

ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ประธาน อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม (นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์) รองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข) รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (นายสุทธิเกตติ์ ทัดพิทักษ์กุล) อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (นายอรรถพล เจริญชันษา) รองอธิบดีกรมป่าไม้ (นายบรรณรักษ์ เสริมทอง) อนุกรรมการฯ (นางสาวธีรดา ศุภะพงษ์  รศ.ดร. สุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์ และนายสุนิตย์ เชรษฐา) ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบราชการ (นายธนศักดิ์ มังกโรทัย) และเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) Thai PBS 

หน่วยงานภาคเอกชน จำนวน 30 บริษัท เช่น เครือรพ.พญาไท และเครือรพ.เปาโล บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด บริษัท เบทาโกร จํากัด (มหาชน) บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงเทพ ฯลฯ

สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

  • มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 มอบหมายให้ สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ประสานความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ส่งเสริมการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน และภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) โดยใช้มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเป็นแนวทางดำเนินการ เพื่อให้เกิดการขยายผลและเกิดความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5
  • ในปี พ.ศ. 2568 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ ร่วมกันกำหนดพื้นที่เป้าหมายที่มีความเสี่ยง เผาไหม้ซ้ำซาก และมีจุดความร้อน (Hotspot) มากที่สุด เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด ได้แก่
    • ป่าอนุรักษ์ 14 กลุ่มป่า: 1) กลุ่มป่าลุ่มน้ำปาย (แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่) 2) กลุ่มป่าศรีลานนา-แม่ลาว (เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา) 3) กลุ่มป่าสะเมิง (เชียงใหม่) 4) กลุ่มป่าสาละวิน (แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก) 5) กลุ่มป่าตอนใต้จังหวัดเชียงใหม่ (เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ตาก) 6) กลุ่มป่าถ้ำผาไท (ลำปาง) 7) กลุ่มป่าแม่ยม (แพร่ พะเยา ลำปาง) 8) กลุ่มป่าเหนือเขื่อนสิริกิติ์ (อุตรดิตถ์ น่าน แพร่) 9) กลุ่มป่าเขื่อนภูมิพล (ตาก เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง) 10) กลุ่มป่าเวียงโกศัย-แม่วะ-ป่าแม่มอก (ลำปาง สุโขทัย ตาก แพร่ ลำพูน) 11) กลุ่มป่าห้วยขาแข้ง-แม่วงก์ (อุทัยธานี กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์) 12) กลุ่มป่ารอบเขื่อนศรีนครินทร์ (กาญจนบุรี) 13) กลุ่มป่าจังหวัดเลย (เลย เพชรบูรณ์) และ 14) กลุ่มป่าจังหวัดชัยภูมิ (ชัยภูมิ)
  • ตัวอย่างการสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของภาคเอกชน ภายใต้มาตรการ BOI ในปีที่ผ่านมา เช่น
    • บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) สนับสนุนการจัดการในพื้นที่ป่าชุมชนจำนวน 10 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 8,200 ไร่ มูลค่าการสนับสนุนทั้งสิ้น 5,503,700 บาท โดยดำเนินการก่อสร้างฝายชะลอน้ำ การสนับสนุนชุดเครื่องมือและอุปกรณ์ ที่ใช้ในการดับไฟป่า อุปกรณ์จัดการกับเศษวัสดุซึ่งอาจเป็นเชื้อเพลิงที่เป็นองค์ประกอบของการลุกไหม้ เช่น เครื่องตัดหญ้า เครื่องสับย่อยกิ่งไม้ เครื่องผสมปุ๋ยหมัก เครื่องอัดเม็ดปุ๋ย เป็นต้น
    • บริษัท เอสซีจี ซีเมนต์ จำกัด เตรียมสนับสนุนการจัดการในพื้นที่ป่าชุมชนจำนวน 30 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 97,200 ไร่ มูลค่าการสนับสนุนทั้งสิ้น 11.5 ล้านบาท โดยการก่อสร้างฝายชะลอน้ำ การสนับสนุนชุดเครื่องมือและอุปกรณ์ ที่ใช้ในการดับไฟป่า อุปกรณ์จัดการกับเศษวัสดุซึ่งอาจเป็นเชื้อเพลิงที่เป็นองค์ประกอบของการลุกไหม้ เช่น เครื่องตัดหญ้า เครื่องเป่าลมสะพายหลัง เครื่องสับย่อยกิ่งไม้ เครื่องผสมปุ๋ยหมัก เครื่องอัดเม็ดปุ๋ย เป็นต้น
    • บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) สนับสนุนเกษตรกรใช้นวัตกรรมจุลินทรีย์ที่ผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ย่อยตอซังข้าวและฟางแทนการเผา โดยสนับสนุนให้กับวิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์ในเขตพื้นที่ภาคกลางที่มีสถิติจุดความร้อนสะสมสูงที่เกิดจากการเผาฟางข้าวในพื้นที่รอบกรุงเทพฯ 5 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ลพบุรี ชัยนาท และสุพรรณบุรี รวมมูลค่ากว่า 20 ล้านบาท
    • บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด สนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสังคมร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับฐานรากให้มีความเข้มแข็ง ลดปัญหา PM 2.5 ทำการเกษตรปลอดการเผา Zero Burn
  • Next Step
    • เชิญชวนภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหา PM 2.5 ในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจของประเทศไทย ด้วยมาตรการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (CSR) และมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม (BOI)
    • จัดงานแถลงข่าว “รวมพลังรัฐ-เอกชน-ชุมชน ป้องกันไฟป่า” ร่วมกับภาคเอกชนที่แจ้งความประสงค์สนับสนุนพื้นที่เป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2568

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า