ข่าวสาร ก.พ.ร.

ประชุมคณะอนุกรรมาธิการติดตามการปฏิรูปด้านสังคม กิจการผู้สูงอายุและสังคมสูงวัย ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา

9 มี.ค. 2566
0
ประชุมคณะอนุกรรมาธิการติดตามการปฏิรูปด้านสังคม กิจการผู้สูงอายุและสังคมสูงวัย ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา

เมื่อวันพุธที่ 8 มีนาคม 2566 นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. พร้อมด้วยนายธนศักดิ์ มังกโรทัย ผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่กองพัฒนาระบบงานส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมาธิการติดตามการปฏิรูปด้านสังคม กิจการผู้สูงอายุและสังคมสูงวัย ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา โดยมีนายอำพล จินดาวัฒนะ เป็นประธาน ณ ห้องประชุม 426 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา (ฝั่งวุฒิสภา) สรุปผลการประชุม ดังนี้

  1. คณะอนุกรรมาธิการติดตามการปฏิรูปด้านสังคมฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันพุธที่ 11 มกราคม 2566 ได้พิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการตำบลเข้มแข็งแบบหุ้นส่วน และมีมติให้ตั้งคณะทำงานจัดทำแนวทางการบริหารจัดการตำบลเข้มแข็งแบบหุ้นส่วน โดยมอบหมายสำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนฯ ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร.ได้จัดประชุมคณะทำงานฯ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2566 ประกอบด้วย สศช. สำนักงาน ป.ย.ป. กอ.รมน. สป.มท. ปค. สถ. พช. สปสช. สสส. และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เพื่อรับฟังความเห็นในการจัดทำโครงร่างคู่มือแนวทางการบริหารจัดการตำบลเข้มแข็งแบบหุ้นส่วนและปฏิทินการทำงาน ฯ
  2. คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับร่างคู่มือฯ ของคณะทำงานฯ โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

2.1) การจัดทำคู่มือฯ ควรยึดหลักการสำคัญคือ การมีส่วนร่วมโดยประชาชน เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับความต้องการหรือความจำเป็นของประชาชนในพื้นที่ ส่งเสริมให้เกิดความเป็นเจ้าของและความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับการเป็นภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย

2.2) ควรเพิ่มตัวแบบกรณีศึกษาจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้มากยิ่งขึ้น เช่น กรณีศึกษาตัวอย่างของ สศช. สปสช. สช. เพื่อให้การวิเคราะห์และการออกแบบมีความชัดเจน รวมทั้งอาจจะมีตัวอย่างการดำเนินงานตามภารกิจหลักยุทธศาสตร์ นโยบายเร่งด่วน หรือภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ (Agenda Base) เช่น การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 หรือการจัดการป่าชุมชน ฯลฯ รวมทั้งการจัดทำฐานข้อมูลชุมชน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการทำแผนให้มีคุณภาพ นอกจากนี้ ให้ศึกษาถึงกลไกอื่น ๆ ในระดับตำบล และภาพของงบประมาณจากแหล่งต่าง ๆ ที่ลงสู่พื้นที่ตำบล เพื่อนำมาใช้ประกอบการจัดทำคู่มือฯ เพิ่มเติม

2.3) การขับเคลื่อนการบริหารจัดการตำบลเข้มแข็งแบบหุ้นส่วน จะต้องเชื่อมโยงไปสู่การบูรณาการของงบประมาณที่จัดสรรลงสู่พื้นที่ระดับตำบล โดยพิจารณาใน 2 มิติ ได้แก่ ช่วงการจัดทำคำของบประมาณ (ขาขึ้น) และในช่วงของการบริหารงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรมาดำเนินการในพื้นที่ (ขาลง)

2.4) ที่ประชุมกำหนดลงพื้นที่เพื่อรับฟังความเห็นร่างคู่มือฯ ที่ตำบลห้วยงู อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ในวันที่ 24 เมษายน 2566 ณ และกำหนดวันประชุมหารือเพื่อพิจารณาคู่มือฯ ฉบับปรับปรุง ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ต่อไป.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า