ข่าวสาร ก.พ.ร.

การประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินการตามร่างพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ….

29 ก.ย. 2565
0

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นประธานการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินการตามมาตรา 15 แห่งร่างพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …. ร่วมกับนายมณเฑียร เจริญผล รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน นายศุภฤกษ์ ภู่พงศ์ศักดิ์ ผู้ช่วยอำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป. นางสาวสุภาภรณ์ โรจนรุ่งทวี ผู้อำนวยการกองกฎหมาย กรมบัญชีกลาง นายจินตพันธุ์ ทังสุบุตร ผู้อำนวยการกองพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และนางสาวอุรัชฎา เกตุพรหม ผู้อำนวยการฝ่ายมาตรฐานดิจิทัลภาครัฐ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) โดยมีนางสาวนิชา สาทรกิจ ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล และนางสาวจิตตา กิตติเสถียรนนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเลขาธิการ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของทั้ง 5 หน่วยงานเข้าร่วมประชุมด้วย

สำหรับวัตถุประสงค์ของการประชุมเพื่อหารือกับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและกรมบัญชีกลางว่าจะต้องมีการแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ ฯลฯ ในการเบิกจ่ายเงิน การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบงบการเงิน รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่ เพื่อให้รองรับการติดต่อหรือส่งเรื่องถึงกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือระหว่างหน่วยงานกับประชาชน โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 15 หรือไม่ อย่างไร ซึ่งที่ประชุมได้มีข้อคิดเห็นร่วมกัน ดังนี้

1. การตรวจสอบงบการเงินของ สตง. ในปัจจุบันสามารถดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ แต่จะมีข้อจำกัดในเรื่องการตรวจสอบการเบิกจ่ายที่กรมบัญชีกลางจะส่งให้ผู้รับจ้างโดยตรง ทำให้หน่วยงานเบิกจ่ายไม่มีฐานข้อมูล นอกจากนี้ การตรวจสอบเรื่องที่มีการร้องเรียนหรือการสอบสวนซึ่งจะมีการจัดทำเอกสารเพื่อให้ประกอบคดีในชั้นศาล ยังต้องมีการลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ดังนั้นจึงควรสร้างความมั่นใจ ความเชื่อมั่น และความถูกต้องของเอกสารที่ส่งผ่านระบบ

2. การตรวจสอบเอกสารว่าเป็นเอกสารฉบับจริงหรือฉบับปลอมเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพิจารณา ซึ่งการใช้บริการผู้ออกใบรับรอง หรือ C.A. (Certificate authority) จะสามารถแก้ปัญหาเรื่องการถูกปลอมแปลงหรือความไม่มั่นใจของเอกสารได้

3. สตง. อยู่ระหว่างจัดทำระบบ e-Audit และหากสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับสำนักงบประมาณหรือกรมบัญชีกลางได้ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบในรูปแบบกระดาษ ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการ e-Audit กับบางหน่วยงานทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ยกตัวอย่างเช่น คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ที่ตั้งอยู่ ณ นครเจนีวา สมาพันธ์รัฐสวิส ก็สามารถเข้ารับการตรวจในรูปแบบ Remote Audit ได้แล้ว ทั้งนี้ การตรวจสอบในรูปแบบดังกล่าว หน่วยงานผู้รับตรวจจะต้องมีฐานข้อมูลย้อนหลังประมาณ 2 – 3 ปี เป็นต้น ดังนั้นจึงขอเชิญชวนหน่วยงานต่าง ๆ ใช้บริการในระบบ e-Audit ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงาน ป.ย.ป. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ยินดีเข้าร่วมเป็นหน่วยงานนำร่องสำหรับการตรวจภายใต้ระบบ e-Audit ในอนาคต เพื่อเป็นมาตรฐานอื่นให้กับหน่วยงานอื่นต่อไป

4. กรมบัญชีกลาง มีการพัฒนาระบบการคลังภาครัฐให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งกระบวนการทั้งขารับและขาจ่าย เช่น ระบบ New GFMIS Thai ยื่นใบฎีกาและนำส่งเงินอิเล็กทรอนิกส์ ขารับสามารถดำเนินการผ่านเครื่อง EDC ระบบ e-Payment และ QR Code เพื่อรับเงิน และขาจ่ายดำเนินการผ่าน KTB Corporate Online

5. สพร. ควรออกระบบบริการมาตรฐาน (Common Service) เพื่อให้หน่วยงานใช้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการพัฒนาระบบ และยังคงเปิดกว้างให้หน่วยงานสามารถพัฒนาระบบของตนเองได้ แต่ระบบที่พัฒนาขึ้นจะต้องสามารถเชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางภาครัฐ รวมทั้งจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Common Practice) เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติแก่หน่วยงานต่าง ๆ

6. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ ยังไม่มีระเบียบกลางในการปฏิบัติงาน ควรต้องมีการหารือกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาปรับปรุงกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

7. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องมีการเก็บข้อมูลใน server ที่มีความมั่นคงปลอดภัย โครงสร้างพื้นฐานทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ โดยเฉพาะคลาวด์กลางภาครัฐ และการให้บริการ “Software as a Service” เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ใช้ประโยชน์ร่วมกันและสามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. จะดำเนินการออกแบบสำรวจเพื่อสำรวจการดำเนินการตามร่างพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …. ของหน่วยงานของรัฐ เช่น การลงทะเบียนไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กลาง บริการที่ยังไม่สามารถให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ รวมทั้งกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน หรือด้านการเงิน พัสดุ สัญญา ที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการแก้ไขของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและกรมบัญชีกลางต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า