ข่าวสาร ก.พ.ร.

การประชุม อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการศึกษาและกำหนดแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย (NDTP) ครั้งที่ 3/2565

19 ก.ย. 2565
0

เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธาน อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการศึกษาและกำหนดแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย (NDTP) ได้เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 3/2565 เพื่อติดตามและสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP

โดยที่ประชุม ได้รับทราบและพิจารณาให้ความเห็นในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าการพัฒนาเพื่อให้สามารถนำไปทดลองให้บริการและนำเสนอต่อที่ประชุม APEC 2022 ในเดือนพฤศจิกายน 2565 ตามกรอบเวลาที่กำหนด โดยมีประเด็นที่สำคัญที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาและให้ความเห็น ดังนี้

1. คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้นำเสนอความก้าวหน้าการเตรียมการ NDTP Phase 1 (Pilot live/POC) และถอดบทเรียนจากการดำเนินการที่ผ่านมา โดยมี 6 ประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย

1.1 การดำเนินการ NDTP Phase 1 (Pilot live/POC) เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ โดยได้ดำเนินการทดสอบการเชื่อมต่อกับ TradeWaltz (TW) ของประเทศญี่ปุ่น ในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย e-Invoice และ e-Packing List ในขณะที่ Networked Trade Platform (NTP) ได้มีการดำเนินการทดลองส่งต่อเอกสารในรูปแบบ PDF ก่อนในเบื้องต้น
1.2 การขับเคลื่อนคความร่วมมือผ่าน Direction of Thailand-Singapore Corridor ซี่งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ได้บรรจุโครงการการเชื่อมต่อการค้าทางดิจิทัลระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐสิงคโปร์เพื่อหารือกันในรายละเอียด ซึ่งเป็นการดำเนินการตามที่ได้มีการลงนามความร่วมมือระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) และ Singapore MCI ที่ได้ดำเนินการในส่วนก่อนหน้าแล้ว โดยขับเคลื่อนร่วมกันภายใต้การดำเนินงานของ Singapore-Thailand Enhanced Economic Relationship (STEER)
1.3 การถอดบทเรียนการดำเนินการที่ผ่านมา พบแนวทางที่สำคัญ ที่จะทำให้การดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP ประสบความสำเร็จ คือการเร่งกำหนดมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติ เช่น มาตรฐานของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ มาตรฐานการเชื่อมต่อ มาตรฐานของแพลตฟอร์ม และการจำลองธุรกิจ (Business Model) ที่ชัดเจน ซึ่งจะทำให้สามารถลดเวลาในการดำเนินการเชื่อมต่อระหว่างแพลตฟอร์มได้
1.4 การแต่งตั้งผู้แทน กกร. เพื่อเป็นคณะทำงานร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อประสานความร่วมมือในการดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจ (Business Model) และการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ของการพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP ในระยะต่อไป
1.5 การตั้งคณะทำงานศึกษาการเชื่อมต่อทางเทคนิคทางเทคนิคระหว่าง NDTP และ NSW โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565)
1.6 จากการพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP ใน Phase 1 พบว่า คุณลักษณะของแพลตฟอร์ม NDTP ควรประกอบด้วย 1) การมีโซลูชั่นและบริการที่ตอบโจทย์ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า 2) การสนับสนุนให้ผู้ส่งออกผู้นำเข้าส่วนมากของประเทศไทยมาใช้งานแพลตฟอร์ม 3) ความปลอดภัยของแพลตฟอร์ม 4) การกำหนดค่าธรรมเนียมในการใช้งานที่เหมาะสม และ 5) ภาครัฐต้องสามารถเข้ามาสนับสนุนแก่ผู้รับบริการที่ใช้งานแพลตฟอร์ม NDTP

ทั้งนี้ ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่าผลจากการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบธุรกิจ (Business Model) และการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility study) นั้นต้องมีความครอบคุลมทุกด้าน นอกจากนี้ด้านการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility study) โดยปัจจุบันสำนักงาน ก.พ.ร. อยู่ในระหว่างการดำเนินการเพื่อขอรับทุนในการศึกษาจากกองทุน PPP และหากได้รับทุนคาดว่าจะดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 6 เดือน

2. สำนักงาน ก.พ.ร. โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ติญทรรศน์ ประทีปพรณรงค์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ที่ปรึกษาโครงการสำนักงาน ก.พ.ร. ได้เสนอสรุปผลการศึกษาด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

2.1 ความสำคัญของการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP ประกอบด้วย Financial Service, International Trade, Taxation และ Dispute Resolution ซึ่งสอดคล้องตามที่ กกร. เสนอ
2.2 กรอบการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศ ประกอบด้วย 1) ความครอบคลุมของกฎหมาย 2) การปรับปรุงบทบัญญัติในกฎหมาย 3) การเลือกใช้ข้อมูลทางกฎหมาย และ 4) ความซ้ำซ้อนของกฎหมาย

ทั้งนี้ ประธานฯ ได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับประเด็นการรับรองแพลตฟอร์มดิจิทัลในทางกฎหมาย จึงขอให้มีการศึกษาในประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติม และนำข้อมูลมานำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป

3. สำนักงาน ก.พ.ร. นำเสนอความก้าวหน้าการพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP ในปีที่ผ่านมาและเป้าหมายในการขับเคลื่อนการพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณา ดังนี้

3.1 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีการดำเนินการพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP ใน 3 ด้านหลักที่สำคัญ ประกอบด้วย 1) การทดลองเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มการค้าของต่างประเทศ 2) การสำรวจความคิดเห็นเพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขจูงใจ (Incentive) ตลอดจนสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้ผู้ประกอบการสนใจใช้บริการแพลตฟอร์ม NDTP เมื่อเปิดใช้บริการ และ 3) การขับเคลื่อนการดำเนินการในรูปแบบการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership : PPP)
3.2 เป้าหมายการขับเคลื่อนการพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) การแสดงระบบทดลอง/ระบบทดสอบเสมือนจริง (Proof of Concept/ Pilot Live) 2) วางแผนการดำเนินงานต่อเนื่องในระยะถัดไป (ระยะที่ 2 – 5) 3) การจัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ (Feasibility Study) 4) การเตรียมความพร้อมของหน่วยงานในการขับเคลื่อนแพลตฟอร์ม NDTP และ 5) แนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP ในระยะต่อไป โดยที่ประชุมได้พิจารณาและมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่า การดำเนินการพัฒนามีความก้าวหน้าเป็นลำดับ และเป็นไปตามแผนที่กำหนด และขอขขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักงาน ก.พ.ร. และ กกร. ที่ได้ประสานความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกันเป็นอย่างดี ทั้งนี้ ในส่วนของเป้าหมายการขับเคลื่อนการพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นั้น ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการเบื้องต้น แต่ขอให้อนุกรรมการฯ ทุกท่านตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ให้ความเห็นเพิ่มเติมมายังสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อปรับปรุงเป้าหมายให้มีความสอดคล้องกับการดำเนินการของทุกภาคส่วน สำหรับเสนอต่อที่ประชุม ก.พ.ร. ในการประชุมสัมมนาเพื่อรายงานผลการดำเนินการและเป้าหมายการพัฒนาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของ อ.ก.พ.ร. แต่ละคณะ ในวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า