เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2565 อนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น (นางประนอม คำเที่ยง และนายถาวร พรหมมีชัย) และเจ้าหน้าที่ กภท. ลงพื้นที่จังหวัดลำพูนเพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานการขับเคลื่อนจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง ในประเด็น “การแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตร (ลำไย)” โดยประชุมร่วมกับรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นายภาษเดช หงส์ลดารมภ์) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามความก้าวหน้า ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการ สามารถสรุปผลได้ ดังนี้
1. ลำไยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด การดำเนินการต้องอาศัยการบูรณาการของหน่วยงาน เช่น สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสำนักงานจังหวัด เป็นต้น ผลการดำเนินการพบว่าจังหวัดสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรที่สำคัญ (ลำไย) ได้ร้อยละ 10.49 และจำนวนแปลงของสินค้าเกษตรที่สำคัญ (ลำไย) ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.45
2. การแก้ปัญหาประเด็นอุปสรรคของจังหวัด เรื่อง “ปรับปรุงระเบียบกฎเกณฑ์ด้านการเข้าสู่ระบบรับรองมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกร GAP และมาตรฐานโรงคัดบรรจุของผู้ประกอบการ GMP ให้มีความสะดวกรวดเร็ว” มีรายละเอียดดังนี้
– สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูนกำหนดแบบมาตรฐานโรงคัดบรรจุและแปรรูปอาหาร (ลำไย) ของผู้ประกอบการ (พิมพ์เขียว)เพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้างโรงคัดบรรจุและแปรรูปอาหารตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยได้ออกแบบเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำที่ยอมรับได้ของ
การวางผังพื้นที่สถานที่คัดบรรจุผักผลไม้สด เพื่อให้รองรับกับการส่งออกเป็น 4 รูปแบบ คือ
o สถานที่ขนาดเล็ก มีเฉพาะกระบวนการคัดและบรรจุ ไม่มีการจัดเก็บวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ณ สถานที่ผลิต
o สถานที่คัดบรรจุผัก ผลไม้สด ที่มีกระบวนการล้างตัดแต่ง
o สถานที่คัดบรรจุผัก ผลไม้สด ใช้ร่วมกับการผลิตผักผลไม้อบแห้ง หรือแปรรูปจากผักผลไม้
o สถานที่คัดบรรจุลำไย รมซัลเฟอร์ไดออกไซด์
3. การหารือและสรุปการจัดทำมาตรฐานโรงคัดบรรจุและแปรรูปอาหารลำไย ณ สมาคมการค้าผู้ประกอบการผลไม้ไทยภาคเหนือ พร้อมทั้ง รับฟังการให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อปรับปรุงโรงคัดบรรจุและการแปรรูปให้เป็นไปตามมาตรฐาน