ข่าวสาร ก.พ.ร.

การประชุมคณะทำงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาภาครัฐระบบเปิด ในระดับพื้นที่ จังหวัดลำปาง ครั้งที่ 2/2565

16 ส.ค. 2565
0

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2565 รองประธานคณะทำงาน (นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์) รองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข) ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในจังหวัดลำปาง และเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ประชุมคณะทำงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาภาครัฐระบบเปิด ในระดับพื้นที่ จังหวัดลำปาง ครั้งที่ 2/2565 เวลา 14.00 น. ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีการพิจารณาและรับทราบวาระต่าง ๆ ดังนี้

1. พิจารณาเห็นชอบการขับเคลื่อนการสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (Open Government and Meaningful Participation Ecosystem : OG & MP) ในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) โดยในภาพรวม พบว่า จังหวัดลำปาง สามารถดำเนินการตามแผน OG & MP ในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ได้อย่างมีประสิทธภาพ โดยมีการติดตั้ง Low-cost Sensors จำนวน 10 จุด ในพื้นที่เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งมีการบูรณาการการทำงานร่วมกัน ระหว่าง GISTDA สกสว. สพร. UNDP และหน่วยงานในจังหวัดลำปางเพื่อดำเนินการตามแผนฯ อย่างครบถ้วน ทุกมิติ ซึ่งส่งผลทำให้ในปี พ.ศ 2565 พื้นที่เผาไหม้สะสมของจังหวัดลำปางลดลงจากปี พ.ศ. 2564 ร้อยละ 88

2. รับทราบการดำเนินงาน 2 เรื่อง ได้แก่

2.1 รายงานผลการควบคุมฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ได้แก่ ช่วงเวลาที่เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)เกินค่ามาตรฐานมากที่สุดในรอบปี ข้อมูลจุดความร้อนสะสม (Hotspot) อัตราการเจ็บป่วยของประชาชนที่มาจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) และหมอกควัน การบริหารจัดการเชื้อเพลิงตามหลักวิชาการของจังหวัดลำปาง และพื้นที่เผาไหม้/พื้นที่เกิดไฟไหม้ซ้ำซาก เป็นต้น

2.2 การขับเคลื่อนการตอบแทนคืนให้แก่ระบบนิเวศ (Payment for Ecosystem Service : PES ) เพื่อการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) โดยปัจจุบัน กฟผ.แม่เมาะ ได้ดำเนินร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขับเคลื่อนเรื่อง PES เพื่อมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ รวมทั้งพัฒนาแพลตฟอร์มข้อมูลแบบออนไลน์ เชื่อมโยงข้อมูลด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้ในการต่อยอดในการใช้วางแผนพัฒนาเมืองสู่ Smart City

3. การอภิปรายและแสดงความคิดเห็นของที่ประชุม สรุปประเด็นสำคัญได้ ดังนี้

3.1 จังหวัดลำปางมีความก้าวหน้าที่สำคัญจากการดำเนินงานตามแผนการพัฒนาระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (OG & MP) ในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) และจะมีการบูรณาการความร่วมมือกันต่อไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ทางจังหวัดได้ปรับเปลี่ยนตำแหน่งการติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ Low – cost sensor และจะนำส่งข้อมูลให้แก่ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อนำไปเชื่อมโยงข้อมูลเข้าสู่แพลตฟอร์มกลาง ต่อไป
3.2 มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ดำเนินการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการลดลงของจำนวนวันที่เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) เกินค่ามาตรฐาน ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะเป็นประโยชน์ต่อจังหวัดลำปางในการวางแผนรับมือกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในอนาคตหลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ลดน้อยลง
3.3 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในบรรยากาศโดยทั่วไป ค่าเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยให้มีผลจนถึงวันที่ 31 พ.ค. 66 และตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 66 เป็นต้นไป ให้ค่าเฉลี่ยในเวลา 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม. และกำหนดมาตรฐานค่าเฉลี่ยในเวลา 1 ปี จะต้องไม่เกิน 15 มคก./ลบ.ม. โดยที่ประชุมมีข้อสังเกตเรื่องผลกระทบต่อการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)ระหว่างปี หากมีค่ามาตรฐานที่ต่างกัน
3.4 การเชื่อมโยงฐานข้อมูลเรื่องป่าชุมชนของจังหวัดลำปางไปยังแพลตฟอร์มกลาง PM 2.5 ทาง GISTDA จะประสานขอเชื่อมโยงฐานข้อมูลจากเครือข่ายป่าชุมของจังหวัดลำปางเพื่อนำไปจัดทำฐานข้อมูล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินการจับคู่ป่าชุมชนบริเวณที่ยังไม่มีการดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน ในระยะต่อไป ทั้งนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้สรุปบทเรียนจากการวิเคราะห์พื้นที่รอบดอยพระบาท ได้เห็นจุดอ่อนที่ต้องดำเนินการแก้ไขและจุดแข็งที่จะสามารถเป็นต้นแบบและจุดเรียนรู้ ทั้งนี้ สมัชชาสุขภาพ และโดยสมัชชาและสสส.จะขยายพื้นที่ป่าชุมชนรอบดอยพระบาทให้มีจำนวนมากขึ้น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า