ข่าวสาร ก.พ.ร.

การลงพื้นที่เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การส่งเสริมศักยภาพชุมชน หนุนเศรษฐกิจหัวเวียง” จังหวัด พระนครศรีอยุธยา

10 ส.ค. 2565
0

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565 ประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการส่งเสริมภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม (นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์) รองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข) อนุกรรมการ (นางสาวธีรดา ศุภะพงษ์ และ นางสาวอภิญญา สิระนาท) และเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับเทศบาลตำบลหัวเวียง นำโดย นายกเทศมนตรีตำบลหัวเวียง (นายธเนศ สนธิ) และตัวแทนคนในพื้นที่เทศบาลตำบลเมืองหัวเวียง จำนวน 30 คน ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ ภาคประชาสังคม เป็นต้น มาร่วมระดมความคิดเห็นเพื่อวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ ผ่านรายการฟังเสียงประเทศไทย ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ในหัวข้อ “ศักยภาพชุมชน หนุนเศรษฐกิจหัวเวียง” ณ ริมแม่น้ำน้อย วัดหัวเวียง จ.พระนครศรีอยุธยา โดยสามารถสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้

1. ประเด็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น คือ การวิเคราะห์ศักยภาพและจุดเด่นต่าง ๆ ของชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลหัวเวียง เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจของชุมชน ในการแก้ปัญหาเรื่องคนหนุ่มสาวเดินทางย้ายถิ่นออกจากพื้นที่ไปหางานที่อื่น ซึ่งทำให้มีแต่คนสูงวัยอาศัยอยู่ในพื้นที่จำนวนมาก

2. การวิเคราะห์พบจุดเด่น/ศักยภาพ และโอกาสของชุมชนตำบลหัวเวียง ดังนี้

1) การมีทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งโบราณสถานที่โดดเด่น เช่น มีบ้านเรือนไทย บ้านเรือนแพ วัดและแหล่งโบราณสถานที่มีคุณค่า สถาปัตยกรรมริมแม่น้ำที่สวยงามและสมบูรณ์ เส้นทางสัญจรทางน้ำที่สามารถเชื่อมโยงการเดินทางและการท่องเที่ยวได้ ซึ่งสามารถพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจการท่องเที่ยวทางน้ำได้
2) การมีงานหัตถกรรมจักสานที่มีความสวยงาม เป็นสินค้า OTOP ที่ได้รับความนิยม สามารถส่งออกได้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะงานเครื่องหวายที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งหากได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมช่องทางการตลาด จะทำให้สามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนได้

3) การมีมรดกทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น ได้แก่ “เมรุลอย” ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ใช้ในพิธีการเผาศพ ทำให้เกิดการจ้างงาน และเกิดอาชีพที่มีความเกี่ยวเนื่องอื่น ๆ ตามมา เช่น การแทงหยวก ตอกลาย การทำดอกไม้จันทน์ และการทำประทัด ซึ่งพื้นที่สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นธุรกิจบริการที่ครบวงจรได้

3. แนวทางการส่งเสริมศักยภาพของชุมชน เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจในพื้นที่ ต้องอาศัยเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งมี 3 ทางเลือกที่สำคัญ ดังนี้

1) ชุมชนท่องเที่ยววิถีริมแม่น้ำน้อย : การออกแบบการท่องเที่ยวริมแม่น้ำที่มีความเหมาะสม กำหนดจุดท่องเที่ยวที่เหมาะสม โดยเตรียมความพร้อมของพื้นที่ เพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก อาหาร ขนมไทย และผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมจักสานต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดรายได้แก่คนในชุมชนและคนในพื้นที่ไม่ต้องเดินทางออกไปทำงานในพื้นที่อื่น
2) ชุมชนหัตถกรรมเชิดชูภูมิปัญญา : การส่งเสริมหัตถกรรมจักสานที่ทันสมัย การสร้างแบรนด์เพื่อเพิ่มมูลค่า และพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการทำการตลาด โดยดึงภาครัฐ ภาควิชาการที่มีความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์มาช่วยขยายฐานผู้บริโภค และจัดการความรู้จากรุ่นสู่รุ่น

3) ชุมชนเศรษฐกิจร่วมบริการงานศพแบบครบวงจร : การสร้างฐานเศรษฐกิจงานศพเมรุลอยร่วมกันของชุมชน โดยอาศัยผู้ประกอบการแต่ละรายมาร่วมมือกัน เพื่อสร้างฐานเศรษฐกิจของชุมชนร่วมกัน

4. ผลจากการลงคะแนนเสียงของตัวแทนชุมชน พบว่า ชุมชนเลือกอนาคตของเศรษฐกิจหัวเวียง เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) ชุมชนท่องเที่ยววิถีริมแม่น้ำน้อย (81.08 %) 2) ชุมชนหัตถกรรมเชิดชูภูมิปัญญา (16.22%) 3) ชุมชนเศรษฐกิจร่วมบริการงานศพแบบครบวงจร (2.70%)

5. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้แนะนำแพลตฟอร์มเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเทศบาลตำบลหัวเวียง แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เข้าไปทดลองใช้ เพื่อส่งข้อมูล ความคิดเห็นต่างๆ ไปยังเทศบาลตำบลหัวเวียง จ. พระนครศรีอยุธยาได้ต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า