ข่าวสาร ก.พ.ร.

การประชุมหารือร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เรื่องการพัฒนาแพลตฟอร์มกลางในการจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม (Participatory Budgeting) ระดับท้องถิ่น

21 มิ.ย. 2565
0

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 ประธาน อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารงานภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม (นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์) ประชุมหารือร่วมกับรองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (นายธนิศร์ วงศ์ปิยะสถิตย์) ผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (นายสุรพล เจริญภูมิ) อนุกรรมการฯ (นางสาวธีรดา ศุภะพงษ์) หัวหน้าโครงการ UNDP Accelerator Labs จาก UNDP ประเทศไทย (นางสาวอภิญญา สิระนาท) รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น อาคาร กบท. ชั้น 2 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ผลจากการประชุม สรุปได้ดังนี้

1. สำนักงาน ก.พ.ร. และ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จะร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มกลาง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ในระดับท้องถิ่น โดยให้มีการปรับชื่อแพลตฟอร์มที่ตรงกับวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาเป็นสำคัญ

2. แพลตฟอร์มนี้ มีเป้าหมายเพื่อรับฟังความเห็นและระดมความคิดเห็นของประชาชน เยาวชนคนรุ่นใหม่ ทั้งภายในพื้นที่และนอกพื้นที่ เพื่อการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทุกเวลา

3. ประโยชน์ของแพลตฟอร์ม คือ 1) ช่วยเสริมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในรูปแบบเดิม (onsite) ที่ประชาชนอาจติดภารกิจ หรือมีสถานการณ์ของการแพร่ระบาดของโรค covid – 19 ที่ทำให้ประชาชนไม่สามารถประชุมร่วมกันได้ 2) ช่วยระดมความคิดเห็นจากทั้งจากคนในพื้นที่และคนนอกพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้ได้แนวทางการแก้ไขปัญหาในรูปแบบใหม่ ในลักษณะการมองจากคนนอกพื้นที่ (outside – in) 3) ช่วยเจ้าหน้าที่ของรัฐในการสร้างข้อเสนอหรือโครงการที่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ในลักษณะ Bottom – Up

4. ข้อควรพึงระวัง คือ 1) ความต้องการของคนในพื้นที่และนอกพื้นที่อาจมีความแตกต่างกัน จึงควรบริหารจัดการความต้องการอย่างเหมาะสม 2) การดำเนินการเรื่องต่างๆ ควรพิจารณาอำนาจหน้าที่ของ อปท. และระเบียบแนวทางปฏิบัติของ มท./สถ. 3) แพลตฟอร์มควรสามารถยืนยันตัวตนผู้มาแสดงความคิดเห็นได้ ทั้งภายในพื้นที่และนอกพื้นที่ 4) ระยะเวลาในการรับฟังความคิดเห็นและการจัดทำแผนของท้องถิ่นควรมีความสอดคล้องกัน 5) เนื่องจากงบประมาณมีจำกัด ท้องถิ่นจึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ทุกเรื่อง 6) ควรมีการคัดกรองความเห็นที่แสดงบนแพลตฟอร์ม เพื่อเป็นพื้นที่ในการเสนอความคิดเห็นและแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยไม่มุ่งหวังผลประโยชน์ทางการเมืองหรือส่วนบุคคล

5. ในกรณีที่ปัญหาอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของ อปท. ท้องถิ่นสามารถบูรณาการเชื่อมโยงแผนพัฒนาพื้นที่ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนและประสานแผนพัฒนาพื้นที่ในระดับอำเภอและตำบล พ.ศ. 2562 เพื่อเสนอเป็น ONE PLAN ได้

NEXT STEP : สำนักงาน ก.พ.ร. UNDP แห่งประเทศไทย และ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จะร่วมมือกันปรับปรุงและพัฒนาแพลตฟอร์ม เพื่อใช้ในการรับฟังความคิดเห็นและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ รวมถึงเพื่อเป็นเครื่องมือในการยกระดับภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้ได้จริง สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และถูกต้องตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า