ข่าวสาร ก.พ.ร.

MY BETTER COUNTRY HACKATHON ครั้งที่ 11 : อนาคตที่ออกแบบได้กับราชการไทยที่อยากเห็น

15 มิ.ย. 2565
0

จบไปแล้ว!! กับการเปิดเวทีให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนางานภาครัฐ ครั้งนี้เป็นการระดมไอเดียกันอย่างสนุกสนาน กิจกรรมในครั้งนี้สำนักคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หรือ สำนักงาน ก.พ.ร. จะนำไอเดียเจ๋ง ๆ ไปดำเนินการให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2565 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดกิจกรรม MY BETTER COUNTRY HACKATHON ครั้งที่ 11 : อนาคตที่ออกแบบได้กับราชการไทยที่อยากเห็น ในรูปแบบระบบออนไลน์ โดยได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมจากวงการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน และบุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐ กว่า 60 คน ใช้เวลากว่า 8 ชั่วโมง ร่วมระดมความคิดเห็นและนำเสนอไอเดียในการพัฒนาราชการไทยในอนาคต ทั้งเรื่องบริการภาครัฐ โครงสร้าง ภาครัฐดิจิทัลและกำลังคนภาครัฐ

เริ่มต้นเปิดตัวกิจกรรมด้วย

นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการส่งเสริมการบริการภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม ได้กล่าวถึงความเป็นมาของกิจกรรมในครั้งนี้ พร้อมทั้งยกตัวอย่างข้อเสนอของประชาชนที่หน่วยงานภาครัฐนำไปขับเคลื่อนให้เกิดผลในปัจจุบัน อย่าง การจัดกิจกรรมMY BETTER COUNTRY HACKATHON ที่จังหวัดลำปาง ภายใต้ลำปางสดใส ลดฝุ่น PM 2.5

นอกจากนี้ นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ เลขาธิการ ก.พ.ร ได้กล่าวให้เห็นถึงภาพรวมภารกิจของสำนักงาน ก.พ.ร. ตลอดจนโจทย์ที่อยากจะเชิญชวนให้ผู้สนใจเข้าร่วมคิด และออกแบบ เพื่อพัฒนาราชการไทยในอนาคต 4 โจทย์หลัก คือ (1) การบริการภาครัฐที่ตอบโจทย์ (2) การบริหารจัดการและโครงสร้างภาครัฐที่รองรับการเปลี่ยนแปลง (3) การเป็นรัฐบาลดิขิทัล ใช้ข้อมูลเพื่อการพัฒนาประเทศ (4) ระบบการบริหารคนภาครัฐที่ดึงดูด “คนเก่งและรักษาคนดี”

สำหรับในช่วงการนำเสนอผลการระดมไอเดียทั้ง 4 โจทย์ นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ได้เข้าร่วมรับฟังและให้ความเห็น

4 ผลงานที่พร้อมนำไปปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

1. SGSIC Seamless Goverment Service Integration Center หน่วยงานบูรณาการการบริการภาครัฐแบบไร้รอยต่อ เพื่อลดขั้นตอนการทำงานระหว่างหน่วยงาน ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย โปร่งใส ตรวจสอบได้ เห็นถึงความคุ้มค่าของโครงการที่รัฐแจกจ่ายงบประมาณในแต่ละภาคส่วน รวมทั้ง ลดค่าใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ โดยอาจมีการนำร่องในหน่วยงานที่เกี่ยวกับหมุดหมายที่ 13 ของร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566 – 2570) ก่อน แล้วค่อยขยายไปยังหน่วยงานอื่น ๆ ต่อไป

2. ปฏิรูปโครงสร้างระบบบริการสาธารณสุข : ระบบสุขภาพปฐมภูมิ โดยการมีนโยบายบูรณาการทำงานด้านสาธารณสุขปฐมภูมิ และพัฒนา Single Platform ที่นำระบบดิจิทัลเข้ามาใช้ ให้ประชาชนมีข้อมูลในการเลือกและตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองได้ ภาครัฐเองก็จะมีข้อมูลบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

3. การนำเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ PMQA มาปรับใช้ และ นำดิจิทัลมาปรับให้ทันสมัย ทันต่อสถานการณ์ เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน โดยเน้น 4 ใช่ คือ คนที่ใช่ เครื่องมือที่ใช่ ข้อมูลที่ใช่ ซึ่งจะนำไปสู่การบริการที่ใช่ในที่สุด

4. โครงการซุปเปอร์ฮีโร่ เพื่อที่จะสร้างคนที่จะอยู่ในองค์กร ดึงดูดคนเก่งและรักษาคนดีเอาไว้ โดยมี 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ 1) สร้างคน ตั้งแต่การสรรหา รวมถึงการพัฒนาศักยภาพขณะอยู่ในระบบราชการ 2) ระบบบริหารจัดการที่มีความโปร่งใส และมีความยืดหยุ่น 3) องค์กรที่ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ และ 4) สิ่งแวดล้อมที่ตอบสนองความต้องการของคนทุกกลุ่ม ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้บุคลากรภาครัฐมีความสุขมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนจะได้รับการบริการที่ดีขึ้น

สำหรับการดำเนินการต่อไป สำนักงาน ก.พ.ร. จะได้รวบรวมข้อมูลที่ได้จากกิจกรรมนี้ ไปประกอบการจัดทำกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2566 – 2570) อันจะเป็นทิศทางการพัฒนาระบบราชการในอนาคตต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า