ข่าวสาร ก.พ.ร.

กรมที่ดินมุ่งมั่นพัฒนางานบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความโปร่งใสต่อการให้บริการประชาชน

1 มิ.ย. 2565
0

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. นางสาวนิชา สาทรกิจ ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล พร้อมด้วย นายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และนายพนา รัตนบรรณางกูร ผู้อำนวยการ CAC และคณะ ได้เข้าพบ นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีที่ดิน เพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนางานบริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความโปร่งใสต่อการให้บริการประชาชน โดยมี นายวราพงษ์ เกียรตินิยมรุ่ง ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมสำรวจ และคณะ เข้าร่วมหารือด้วย

อธิบดีกรมที่ดิน กล่าวว่า ขอขอบคุณที่ภาคเอกชนให้ความสนใจกับการบริหารงานและการให้บริการประชาชนของกรมที่ดิน ซึ่งที่ผ่านมาได้พัฒนาการบริหารงานและการให้บริการประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งหวังที่จะปรับเปลี่ยนมุมมองของประชาชนที่เห็นว่าการบริการของกรมมีความยุ่งยากทางกฎหมาย และต้องใช้ดุลยพินิจในการวินิจฉัยตามข้อกฎหมายเป็นจำนวนมาก เป็นการบริการด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว โปร่งใส และยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือสนับสนุน ซึ่งมีแนวทางการบริหาร 5 เรื่องหลัก ได้แก่ (1) การบริหารเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ที่มีแอปพลิเคชันเป็นเครื่องมือสนับสนุนทั้ง Smart Lands ที่รวมงานบริการของกรมที่ดินเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูล ที่ตั้งสำนักงาน ขั้นตอนการดำเนินงาน การตรวจสอบราคาประเมิน และ e-QLands ที่สามารถเข้าไปจองคิวรังวัดและจองคิวจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (2) ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องที่ดิน ที่มีสารานุกรมที่ดินอิเล็กทรอนิกส์ให้ประชาชนเข้าไปสืบค้นและศึกษารายละเอียดการทำธุรกรรมต่าง ๆ (3) ให้ประชาชนร่วมตรวจสอบเชิงคุณภาพ ที่มีระบบรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ผ่านระบบอัตโนมัติ และมี Facebook ของอธิบดีที่ประชาชนสามารถร่วมตรวจสอบการปฏิบัติงานของกรมที่ดินได้ และจะได้รับการตอบกลับจากกรมด้วยความรวดเร็ว (4) การพัฒนาคุณภาพการทำงานตามมาตรฐานศูนย์ราชการสะดวก (GECC) ที่มีนโยบายเลื่อนเงินเดือนให้เป็นกรณีพิเศษสำหรับเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด/สาขา ที่ได้รับรางวัล GECC และ (5) เน้นย้ำระยะเวลาการปฏิบัติงานเพื่อให้เป็นไปตามคู่มือสำหรับประชาชน ทั้งนี้ การปฏิบัติงานต่าง ๆ จะให้ความสำคัญกับมิติความคุ้มค่าของภาคเอกชนและประชาชนนอกจากมิติความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐตามที่กฎหมายกำหนด

รองเลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวว่า กรมที่ดินเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ผู้บริหารให้ความสำคัญต่อการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้พัฒนาและปรับปรุงการบริหารงานและการให้บริการประชาชน โดยเฉพาะการสร้างการรับรู้และความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่าการให้บริการจะต้องมีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส และมีมาตรฐานในการให้บริการ ซึ่งตัวอย่างการดำเนินงานที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด คือ การปฏิบัติงานของกรมที่ช่วยยกระดับอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจของประเทศไทย ในด้านการจดทะเบียนทรัพย์สิน รวมทั้งการสมัครขอรับการรับรองมาตรฐานการให้บริการของศูนย์ราชการสะดวก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่มีสำนักงานที่ดินจังหวัด/สาขา สมัครของรับการรับรองมาตรฐานฯ จำนวน 134 หน่วย จากจำนวนสำนักงานที่ดินทั้งหมด 461 หน่วย จึงทำให้เห็นว่ากรมที่ดินมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการปฏิบัติงานในทุกมิติให้เป็นไปตามมาตรฐานระดับสากล และมาตรฐานภายในประเทศที่ได้รับการยอมรับ

เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และผู้อำนวยการ CAC กล่าวชื่นชมการกำหนดนโยบายของอธิบดีกรมที่ดิน และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยสร้างความโปร่งใสและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน รวมทั้งมีแนวคิดการพัฒนางานของกรมที่ดิน ปี 2565 ที่ชัดเจน และตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน เช่น การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแบบออนไลน์ต่างสำนักงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ได้เสนอให้มีคณะทำงานระหว่างภาคเอกชนและกรมที่ดินเพื่อสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์การให้บริการงานของกรมที่ดิน ซึ่งอธิบดีกรมที่ดินไม่ขัดข้องกับการจัดตั้งคณะทำงานดังกล่าว ซึ่งจะช่วยให้กรมที่ดินมีเครือข่ายในการสร้างความรู้ความเข้าใจและร่วมให้ความคิดเห็นต่อการพัฒนางานของกรมที่ดินอย่างต่อเนื่องต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า