ข่าวสาร ก.พ.ร.

สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมเสวนาหัวข้อ “Digital Government Platform : Digital ID (ระบบการยืนยันตัวตน) “ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไร? หน่วยงานรัฐจะ ใช้อย่างไร?” ในงาน DG Summit 2022

30 พ.ค. 2565
0

รองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข) ผู้แทนสำนักงาน ก.พ.ร. พร้อมด้วย ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล นายภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) และ นายสัญชัย เตชนิมิตวัช ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโยโลยีสารสนเทศและระบบข้อมูล กรมการปกครอง ร่วมการเสวนาในหัวข้อ “Digital Government Platform : Digital ID (ระบบการยืนยันตัวตน) “ประชาชนจะได้ประโยชน้อะไร? หน่วยงานรัฐจะใช้อย่างไร?” ในงาน DG Summit 2022 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2565 เวลา 14.30-15.30 น. โดยมีสรุปสาระสำคัญที่ได้จากการเสวนา ดังนี้

1. สิ่งสำคัญของการรับบริการผ่านระบบดิจิทัล โดยเฉพาะการทำธุรกรรมกับภาครัฐ คือ การที่ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ที่กำลังรับบริการคือบุคคลคนนั้นจริงๆ ดังนั้น Digital ID จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัล

2. Digital ID ส่งผลให้เกิดการยกระดับการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มความโปร่งใสโดยการลดดุลพินิจของเจ้าหน้าที่เพราะมีการนำระบบการประมวลผลอัตโนมัติ (Automate Processing) มาทดแทน ทำให้ประชาชนได้รับบริการรวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่าย ประชาชนสามารถรับบริการภาครัฐได้ทุกที่ ทุกเวลา นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังสามารถนำเวลาการให้บริการที่ลดลงไปพัฒนาการให้บริการด้านอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

3. ระบบข้อมูลกลางภาครัฐของ สดช. จะเป็นส่วนผลักดันที่ให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างภาครัฐด้วยกัน เพื่อสนับสนุนให้ Digital ID สามารถเกิดการตรวจสอบและเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงทำให้เกิด Big Data สำหรับการให้บริการด้านดิจิทัลแก่ประชาชน และการกำหนดนโยบายของรัฐในภาพรวม

4. ภาครัฐ มุ่งเน้นการทำ Platform กลางภาครัฐ ที่ทุกหน่วยงานสามารถพัฒนางานบริการได้ในจุดเดียว ทำให้ประชาชนสามารถรับบริการได้ ณ จุดเดียวเช่นเดียวกัน เช่น ปัจจุบันมีการพัฒนาแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ที่รวบรวมงานบริการเพื่อประชาชน โดยในระยะแรกเป็นการรวบรวมงานบริการด้านสิทธิและสวัสดิการ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการบริการภาครัฐได้ ไม่จำเป็นต้องโหลดแอปพลิเคชันภาครัฐที่มีมากมายในปัจจุบัน

5. D.DOPA ถือเป็น Digital ID ประเภทหนึ่ง ที่เปรียบเสมือนบัตรประชาชนในโลก Digital ที่รับรองโดยกรมการปกครอง เพื่อให้เชื่อมั่นได้ว่าผู้รับบริการผ่านระบบดิจิทัลเป็นบุคคลคนนั้น หรือเป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับอนุญาต และในอนาคตกรมการปกครองจะยกระดับโดยการให้บริการด้านทะเบียนราษฎร์เพื่อเข้าสู่ระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบหรืออาจเรียกได้ว่า “อำเภอในโลกดิจิทัล”

6. นอกจากจะมี D.DOPA แล้ว ยังมี Digital ID อีกหลายประเภท เช่น NDID, MobileID เป็นต้น ซึ่งแต่ละเทคโนโลยีมีจุดแข็งของตัวเอง ซึ่งประชาชนสามารถเลือกใช้ Digital ID ที่ตนเองสะดวกหรือเชื่อมั่นได้ตามความต้องการในการใช้งาน

7. Digital ID ถือเป็นกุญแจดอกสำคัญเพื่อเข้าสู่บริการภาครัฐในรูปแบบ e-Service ที่ประชาชนสามารถอนุญาตให้หน่วยงานภาครัฐ ทำการเชื่อมโยงข้อมูลหลังบ้านสำหรับให้บริการได้แบบไร้รอยต่อ (Seamless) ที่สมบูรณ์แบบ ระบบ Digital ID จึงถือเป็นกุญแจที่สามารถทะลุทะลวงเพื่อรับบริการและการส่งต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงานสำหรับให้บริการผ่านระบบดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนสามารถรับบริการได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ (End-to-End Process) ผ่านระบบพอร์ทัลกลางภาครัฐ เช่น Citizen Portal ผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ หรือ Biz Portal ได้อย่างแท้จริง

ทั้งนี้ ในวงเสวนาเห็นพ้องกันว่า สิ่งสำคัญของการให้บริการผ่านระบบดิจิทัล คือ การแชร์ข้อมูลระหว่างกันของหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้สามารถปรับกระบวนการให้บริการได้ผ่านระบบดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ บนพื้นฐานของธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) และแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีแนวทางในการส่งผ่านข้อมูลส่วนบุคคลที่ปลอดภัย และเป็นประโยชน์แก่ประชาชนเจ้าของข้อมูล ดังนั้น เมื่อมี Digital ID ที่ได้มาตรฐาน ร่วมกับมีการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการให้บริการระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่ปลอดภัย ก็จะทำให้เกิดการบริการด้วยระบบดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบของภาครัฐ ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดบนแนวคิด “Digital First” ต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า