ข่าวสาร ก.พ.ร.

หน่วยงานต้นแบบการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

26 พ.ค. 2565
0

สำนักงาน ก.พ.ร. จัดกิจกรรมเผยแพร่ผลงานการพัฒนาการบริการของหน่วยงานภาครัฐ เรื่อง “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมจัดการน้ำอย่างไร ให้ยั่งยืน” ในวันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2565 ผ่าน Youtube และ Facebook สำนักงาน ก.พ.ร. โดยมีวิทยากรจากหน่วยงานที่มีผลงานโดดเด่น และได้รับรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ ดร.ชคพล สิงโต นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ กรมชลประทาน นายกฤตภพ เฉื่อยฉ่ำ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทับน้ำ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระครูวรวรรณวิวัฒน์ ดร. เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยเวียงชัย เจ้าคณะตำบลโหล่งขอด และพ.อ. กฤศ ศิริพงศ์ ผู้บังคับหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 32 สำนักงานพัฒนาภาคที่ 3 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย พร้อมด้วย ดร.สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หน่วยงานที่มีบทบาทและความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมรับชมประมาณ 530 คน

ดร.ชคพล สิงโต กล่าวถึงโครงการผันน้ำแบบชุมชนมีส่วนร่วมในทุ่งหน่วงน้ำบางระกำว่า เริ่มต้นจากการเก็บข้อมูลแล้วพบว่าชาวบ้านไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก่อนน้ำท่วมซึ่งเดิมแก้ไขปัญหาด้วยการให้ค่าเงินชดเชย จึงหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ด้วยการนำแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนมาใช้บริหารจัดการ นำเทคโนโลยีมาใช้สื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พร้อมสร้างความร่วมมือกับชุมชน ผู้นำชุมชน เครือข่าย สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และพิสูจน์ว่าหน่วยงานดำเนินการได้ตามที่ตกลงไว้จริง ส่งผลให้เกิดความร่วมมือจากชาวบ้านเสียสละพื้นที่ในการรองรับน้ำ ทำให้พื้นที่หน่วงน้ำบางระกำ เก็บน้ำได้มหาศาล บรรเทาผลกระทบน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

นายกฤตภพ เฉื่อยฉ่ำ กล่าวว่า การบริหารจัดการน้ำเพื่อต่อสู้ปัญหาวิกฤตภัยแล้งขององค์การบริหารส่วนตำบลทับน้ำ มุ่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมหนักในหน้าน้ำ ส่วนหน้าแล้งไม่มีน้ำใช้ โดยพัฒนาพื้นที่เก็บกักน้ำ และสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนในการขอใช้พื้นที่ดินเพื่อขุดคลองกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่เกษตรได้อย่างทั่วถึง พอเพียง เป็นธรรม โดนยึดประโยชน์ของคนในพื้นที่เป็นที่ตั้ง พร้อมบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น และสร้างการรับรู้ เข้าใจ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ประชาชนร่วมดำเนินการ และเกิดความยั่งยืน

พ.อ. กฤศ ศิริพงศ์ กล่าวถึง ผลงานโหล่งขอดโมเดล : รูปแบบการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ว่าผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ประชาชน ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ หาแนวทางแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และอุกทกภัยซ้ำซากอย่างยั่งยืน ด้วยวิธีการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ให้มีน้ำใช้ตลอดปี ยกระดับคุณภาพชีวิต และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ โดยสร้างกฎกติกาชุมชน ดูแลป่าไม้ จัดตั้งกลุ่มภาคีเครือข่าย เปิดใจพูดคุยและรับฟังความต้องการ พิจารณาทางเลือกในการแก้ไขปัญหาร่วมกันบนความสัมพันธ์แบบเครือญาติ ทำให้เกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

ด้านพระครูวรวรรณวิวัฒน์ ดร. กล่าวถึงโครงการดังกล่าวที่มุ่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และการบุกรุกทรัพยากร โดยได้รับ ความร่วมมือจากหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 32 พระสงฆ์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. ผู้สูงอายุ แม่บ้าน เด็ก เยาวชน และหน่วยงานในพื้นที่ มาร่วมหาทางออก ร่วมคิด ลงมือทำ แก้ไขปัญหาและได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน

ส่วน ดร.สุทัศน์ วีสกุล กล่าวว่า สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ได้มีส่วนในการพัฒนาด้านการบริหารจัดการน้ำ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการพัฒนาฐานข้อมูลน้ำแห่งชาติ พัฒนาระบบการคาดการณ์ทำนายฝน น้ำหลาก น้ำท่วม คลื่นในทะเล รวมทั้งสร้างเครือข่ายการพัฒนาระบบร่วมกับหลายหน่วยงาน เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนา แก้ไขปัญหาในการบริหารจัดการน้ำได้เร็วขึ้น

ทั้งนี้ หากสนใจสามารถรับชมย้อนหลังได้ที่
Youtube สำนักงาน ก.พ.ร. ที่ https://www.youtube.com/channel/UCedvHyWHYZZWmSZbcib6URA
และ Facebook สำนักงาน ก.พ.ร. ที่ https://www.facebook.com/OPDCThailand

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า