ข่าวสาร ก.พ.ร.

ขยายผลรางวัลเลิศรัฐ : การถอดบทเรียนระบบการแพทย์ฉุกเฉินหนึ่งเดียว ที่ทุกคนเข้าถึงได้ ด้วยนวัตกรรมและมาตรฐานเดียวกัน

29 มี.ค. 2566
0
ขยายผลรางวัลเลิศรัฐ : การถอดบทเรียนระบบการแพทย์ฉุกเฉินหนึ่งเดียว ที่ทุกคนเข้าถึงได้ ด้วยนวัตกรรมและมาตรฐานเดียวกัน

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดประชุมหารือแนวทางการขยายผลรางวัลเลิศรัฐ ของโรงพยาบาลระยอง ซึ่งได้รับรางวัลเลิศรัฐ สาขาบริการภาครัฐ ประเภทนวัตกรรมการบริการ ในระดับดีเด่น ประจำปี 2565 ในผลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมอัจฉริยะ เพื่อการเปลี่ยนระบบการแพทย์ฉุกเฉิน Smart innovation and technology for ECS (emergency care system) Transformation ผ่านการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ มีหน่วยงานเกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ได้แก่ โรงพยาบาลระยอง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และเขตสุขภาพที่ 6 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยรองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข) กล่าวเปิดการประชุมและกล่าววัตถุประสงค์ในการจัดทำแนวทางการขยายผลงาน หลังจากจึงเป็นการนำเสนอแนวทางการขยายผลงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมอัจฉริยะ เพื่อการเปลี่ยนระบบการแพทย์ฉุกเฉิน โดยนายแพทย์ชำนาญการพิเศษ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน 1669 โรงพยาบาลระยอง (นายแพทย์ภคพล เอี่ยมไพบูลย์พันธ์) และพยาบาลชำนาญการ โรงพยาบาลระยอง (นางราตรี เกียรติขจรพันธ์ุ และนางวิลาวัลย์ พรหมโสภา) รวมถึงผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวง เขตสุขภาพที่ 6 (นางภารณี วสุเสถียร) นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (นายชิตชนินทร์ นิยมไทย) ร่วมสังเกตการณ์ด้วย นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีการหารือในประเด็นต่างๆ จากสำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เพื่อให้มีแนวทางที่สามารถนำไปขับเคลื่อนให้เกิดการขยายผลสำเร็จและเกิดประโยชน์แก่ประชาชน โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้

1. วิสัยทัศน์แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลระยอง คือผู้นำพัฒนาระบบรักษาพยาบาลฉุกเฉินได้มาตรฐานเดียวกันทั้งจังหวัดทุกคนเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ด้วยความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน ปี 2566-2568 โดยมีเป้าหมาย คือการเพิ่มการเข้าถึงบริการและลดอัตราการเสียชีวิต

2. การพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง เน้นการเรียนรู้ พัฒนางานวิจัยเครือข่ายและนวัตกรรม/เทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ผู้ป่วยเป็นแกนกลางในการพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉิน เน้นในกลุ่ม 4 กลุ่มโรคสำคัญ ได้แก่ Stroke Sepsis STEACS และ Trauma โดยการบูรณาการมาตรฐานการแพทย์ฉุกเฉินใหม่ Transformation ECS โดยยึดมั่นให้โรงพยาบาลได้รับมาตรฐานก่อน จึงจะขยายผลไปยังหน่วยงานอื่น

3. การเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อให้ภาคประชาชน โดยมีจุดเชื่อม Telemedicine ประชุมพัฒนาแนวทางปฏิบัติที่สำคัญและทบทวนการต่อส่งผู้ป่วย โดยมีสาธารณสุขจังหวัด กำหนดทิศทางสนับสนุนเชิงนโยบาย ตรวจสอบ พัฒนา และสร้างความสัมพันธ์ในเครือข่าย เชื่อมโยงภาครัฐและเอกชน เน้นการทำงานร่วมกันระดับจังหวัด สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กรมการแพทย์ โรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน ทุกระดับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตำรวจ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรภาคเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร

4. รูปแบบของการนำนวัตกรรมสู่เครือข่าย เริ่มจากการแต่งตั้งคณะกรรมการจังหวัด ที่ประกอบด้วย สาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการวิเคราะห์สำรวจ และนำแนวทางปฏิบัติและนวัตกรรมต่าง ๆ ปรับใช้ เชื่อมโยงเครือข่ายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ นวัตกรรมที่ขยายใช้กันทั้งจังหวัด คือ TOT help call center ซึ่งทุกอำเภอสามารถโทรแจ้งเหตุได้ผ่านศูนย์ 1669 เชื่อมระบบ Telemedicine รถฉุกเฉินทุกคัน ทำให้แพทย์สามารถเข้าถึงการรักษาตั้งแต่ที่เกิดเหตุนอกโรงพยาบาล ขณะนี้โรงพยาบาลระยองกำลังขยายถึง Visual ER ในห้อง ER รพ.สต. นำนวัตกรรม wrist band ใช้เตือนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยมีระบบ Digital Triage ที่ห้องฉุกเฉินใช้ระบบเดียวกันทั้งจังหวัด

5. การควบคุมกำกับ/พัฒนาเครือข่าย นโยบายและธรรมาภิบาลผ่านคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดระยอง โดยมีบทบาทกำหนดนโยบาย ทิศทางประเทศ แผนพัฒนา และงบประมาณหลัก รวมถึงทำแผนตรวจสอบมาตราฐาน สนับสนุนงบประมาณต่าง ๆ

6. การพัฒนาการแพทย์ฉุกเฉินที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs) เน้น 3 ประเด็น ได้แก่ 1. มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good health and well-being) มีการรักษาที่ดีและรวดเร็ว บุคลากรปลอดภัย ลดอัตราการเสียชีวิตและพิการ 2. อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน (Industry, Innovation and infrastructure) ใช้หลัก 3P safety เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้รับบริการ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยว นักลงทุน และเพิ่มการเข้าถึงและการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งเป็นข้อมูลส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ เติบโตได้ 3. ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnerships for the goals) โดยยึดหลักการการทำงานร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และองค์กรอิสระต่าง ๆ เป็นสิ่งสำคัญที่จะขับเคลื่อนภาวะวิกฤตต่าง ๆ

ประโยชน์ที่เกิดขึ้นในการขยายผลต้นแบบการแพทย์ฉุกเฉิน จะทำให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดระยอง มีความเชื่อมั่น ในระบบการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน และในเขตสุขภาพที่ 6 มีแหล่งเรียนรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่มีมาตรฐาน และเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ รวมถึงประชาชนสามารถเข้าถึงแพทย์เฉพาะทางได้อย่างรวดเร็วและเป็นประโยชน์ในการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC และในเขตสุขภาพที่ 6 ต่อไป

ทั้งนี้ ในการจัดทำต้นแบบแนวปฏิบัติที่ดี (best practice) ในปี 2566 สำนักงาน ก.พ.ร. จะดำเนินการเพื่อให้ได้ต้นแบบจำนวน 6 แนวทาง และสำนักงาน ก.พ.ร. จะได้จัดประชุมเพื่อให้ได้แนวทาง เพื่อให้หน่วยงานหรือพื้นที่อื่น ๆ นำไปใช้เป็นโมเดลต้นแบบและพัฒนาอย่างต่อเนื่องและขยายผลในวงกว้างต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า