ข่าวสาร ก.พ.ร.

การประชุมการสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (Open Government and Meaningful Participation Ecosystem : OG & MP)ในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จังหวัดสิงห์บุรี

24 พ.ค. 2564
0

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี (นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์) ประชุมหารือร่วมกับนายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ประธาน อ.ก.พ.ร.เกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม และรองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข) พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร. ผ่านการประชุมระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ในจังหวัดสิงห์บุรี ประกอบด้วย สำนักงานสาธารสุขจังหวัด คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานจังหวัด สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานแรงงานจังหวัด สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สำนักงานขนส่งจังหวัด ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัด สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตัวแทนชาวไร่อ้อย (ผู้แทนภาคประชาชน) บริษัทมิตรผล จำกัด (ภาคเอกชน)

นอกจากนี้ มีผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP ประเทศไทย) เข้าร่วมประชุมด้วย

ผลจากการประชุมมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ดังนี้

1. ปัจจุบันจังหวัดสิงห์บุรีอยู่ระหว่างการดำเนินการเรื่อง Smart city และ Smart farming ดังนั้น การนำแนวทางการสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายของสำนักงาน ก.พ.ร. เข้ามาใช้ในการแก้ไขปัญหา PM 2.5 จะสามารถช่วยสนับสนุนการดำเนินการของจังหวัดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมมาใช้ในการตรวจวัดคุณภาพอากาศและค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น ระบบ AI หรือ Chat bot เข้ามาช่วยในการสื่อสารกับประชาชน และใช้ในการแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานและภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการบูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน

2. การสนับสนุนองค์ความรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน เช่น การให้ความรู้เรื่องการปลูกอ้อยสมัยใหม่ การเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวข้าวและอ้อยได้โดยใช้ไม่ใช้เครื่องจักร การบริหารจัดการพื้นที่ดินที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ได้ผลผลิตมากที่สุด ฯลฯ หากเกษตรกรมีองค์ความรู้ที่ถูกต้องจะไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยทำให้คุณภาพอากาศดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ การสนับสนุนองค์ความรู้ จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยน Mind set เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสร้างแรงจูงใจให้แก่เกษตรกร เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนและประสบความสำเร็จ

3. ปัญหาของเกษตรกร คือ ไม่มีเงิน ไม่มีเครื่องจักร ไม่มีแรงงาน ดังนั้น ภาครัฐควรมุ่งเน้นและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาอย่างครบวงจร เช่น การเปลี่ยนแปลงวิธีการปลูก การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร การทำสัญญาข้อตกลงในการทำนาแบบไม่เผาในพื้นที่ การสนับสนุนการปรับแปลงอ้อยให้มีขนาดใหญ่เพื่อให้รถตัดอ้อยสามารถเข้าถึง การไม่รับซื้ออ้อยไฟไหม้ การจัดทำโควต้าและปริมาณการปลูกอ้อย การจัดลำดับการใช้รถตัดอ้อย การจัด Zoning การเพาะปลูกอ้อยและข้าว เพื่อการบริหารจัดการพื้นที่การเพาะปลูกให้มีความเหมาะสมกับปริมาณน้ำในพื้นที่และเพื่อให้รถเก็บอ้อยสามารถเข้าถึงได้ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาของภาครัฐต้องคำนึงถึงวิถีชีวิตของประชาชน การดำเนินการต่างๆ ของภาครัฐจะต้องมีความสมดุลระหว่างกฏหมายที่เข้มงวดกับการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน มิเช่นนั้น ประชาชนจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากกฎหมายของภาครัฐ

4. การจัดเก็บข้อมูลต้องมีความครอบคลุม โดยใช้ฐานข้อมูลที่เหมาะสมต่อการแก้ไขปัญหา เป็นข้อมูลแบบ Real Time ที่มีความละเอียด พื้นที่ต้องมีความชัดเจน เช่น ข้อมูลระดับหมู่บ้าน โดยสามารถระบุพิกัด ถ่ายรูป บันทึกสถิติ เพื่อชี้เป้าเจ้าของพื้นที่ที่มีการเผา พื้นที่ที่มีการเผาซ้ำซาก เพื่อนำไปสู่การเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดเหตุล่วงหน้าที่เฉพาะเจาะจงไปถึงระดับบุคคลได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า