ข่าวสาร ก.พ.ร.

การอบรมเพื่อพัฒนาการให้บริการภาครัฐในการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ หัวข้อ “ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) ตามแนวทางการประเมินบรรยากาศของการดำเนินธุรกิจและการลงทุน (Business Enabling Environment: BEE) ของธนาคารโลก”

7 เม.ย. 2566
0
การอบรมเพื่อพัฒนาการให้บริการภาครัฐในการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ หัวข้อ “ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) ตามแนวทางการประเมินบรรยากาศของการดำเนินธุรกิจและการลงทุน (Business Enabling Environment: BEE) ของธนาคารโลก”

สำนักงาน ก.พ.ร. จัดอบรมเพื่อพัฒนาการให้บริการภาครัฐในการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจหัวข้อ “ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) ตามแนวทางการประเมินบรรยากาศของการดำเนินธุรกิจและการลงทุน (Business Enabling Environment: BEE) ของธนาคารโลก” ในวันที่ 5 เมษายน 2566 เวลา 09.00 ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Zoom) และถ่ายทอดสดทาง Facebook กพร OPDC บรรยายโดย คุณณัฐวุฒิ อินทรส ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) โดยมีรองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข) กล่าวเปิดการอบรม ซึ่งได้กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมของภาครัฐในการประเมินบรรยากาศของการดำเนินธุรกิจและการลงทุน (Business Enabling Environment: BEE) ของธนาคารโลก ซึ่งจะประเมินผ่านประเด็นสำคัญ (Critical Themes) 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การนำเทคโนโลยีมาใช้ (Digital Adoption) 2) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) และ 3) ความเสมอภาคทางเพศ (Gender Equality) โดยประเทศไทย จะถูกวัดอยู่ในรายงานฉบับที่ 3 ซึ่งจะเริ่มเก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม 2567 – ตุลาคม 2568 และประกาศผลในเดือนเมษายน 2569 สำหรับประเด็นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) จะครอบคลุม 9 ด้านในการประเมิน ยกเว้นด้านแรงงาน (Labor) ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเด็นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญสูงมากในการทำธุรกิจ และเป็นประเด็นที่สามารถสร้างโอกาสในการแข่งขันของประเทศไทยบนเวทีโลก ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance :ESG) มีความสําคัญในระดับประเทศ เนื่องจากประเด็นดังกล่าวจะกลายเป็นกติกาในระดับโลกที่จะส่งผลต่อแนวทางการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน สำนักงาน ก.พ.ร. จึงเล็งเห็นความสำคัญในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากภาคเอกชน เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการวางกรอบนโยบายและแนวปฏิบัติที่ดีแก่ภาครัฐ

สรุปสาระสำคัญของการอบรม มีดังนี้

1. ความสำคัญของการขับเคลื่อนในประเด็นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

จากปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ หนึ่งในนั่นคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้น 1.2 องศา และมีโอกาสที่จะสูงถึง 1.5 องศา ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามมาอีกมาก และส่งผลกระทบถึงทุกคนบนโลก นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทุกภาคส่วนต้องตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance :ESG) จึงเป็นกรอบการพัฒนาที่ใช้ขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งนักลงทุนจะใช้ประกอบการตัดสินใจ ก่อนการลงทุน เพราะการลงทุนกับบริษัทที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความเท่าเทียมและมีธรรมาภิบาล ย่อมเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว

2. การดำเนินการของ SCG ในการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยใช้กรอบ ESG เป็นแนวทางดำเนินธุรกิจ ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยใช้แนวทาง ESG 4 Plus ได้แก่

  1. มุ่ง Net Zero ในปี 2050: SCG ตั้งเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการเปลี่ยนผ่าน ไม่ว่าเป็นด้านพลังงาน กระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ รวมไปจนถึงการปลูกต้นไม้เพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งทาง SCG ได้ดำเนินการผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น โครงการสระบุรี Sandbox โครงการรักษ์ภูผามหานที
  2. Go Green: SCG ตั้งเป้าหมายคือไม่สร้างขยะในห่วงโซ่ เน้นการนำกลับมาใช้ใหม่ โดยการเพิ่มนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์รักษ์โลก ฉลาก SCG Green Choice จาก 32% ในปัจจุบันให้เป็น 67% ภายในปี 2030 เปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้ 100% ภายในปี 2025 พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
  3. Lean เหลื่อมล้ำ: SCG มุ่งลดความเหลื่อมล้ำในสังคมด้วยการพัฒนาทักษะและอาชีพที่ตลาดต้องการให้ชุมชนรอบโรงงานและ SMEs 50,000 คน ภายในปี 2030 ตัวอย่างเช่น การรวบรวมขยะเพื่อมาเปลี่ยนเป็นพลังงานในการเผาปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำ
  4. ย้ำร่วมมือ: ทั้งหมดที่กล่าวไปจะเกิดไม่ได้เลยถ้าขาดความร่วมมือ โดยเน้นการสร้างความร่วมมือ ที่เป็นรูปธรรมกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งภาคเอกชนไม่สามารถดําเนินการได้เพียงลําพังต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนในฐานะผู้บริโภค
  5. เป็นธรรม โปร่งใส: การดำเนินงานทุกอย่างของ SCG อยู่ภายใต้ธรรมาภิบาลอย่างต่อเนื่อง ดำเนินทุกกิจกรรมอย่างเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และปลูกฝังไปยังพนักงาน ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร การลงทุนใน New-S Curve ใหม่ ๆ ที่เป็นไปในทิศทางที่สะอาด และเป็นมิตรกับการกําหนดเป้าหมาย Carbon Neutrality ในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งเป็นเป้าหมายที่แต่ละประเทศ ต้องดําเนินการ โดยต้องอาศัยการปรับตัว (Adaptation) การลดผลกระทบ (Mitigation) การเงิน/การลงทุน (Finance) และการบังคับใช้ Article 6 of PA

3. กรณีศึกษาที่น่าสนใจ

  1. ในทางยุโรปมีการออกมาตรการบางอย่างซึ่งส่งผลให้เกิดการย้ายฐานอุตสาหกรรมบางประเภทไปยังฝั่งอเมริกา ในขณะเดียวกันอเมริกาได้มีมาตรการแรงจูงใจ (Incentive) ในเรื่องของ Green Finance ซึ่งสะท้อนมายังประเทศไทยว่าจะมีมาตรการทางด้านภาษีอย่างไรให้เหมาะสม ไม่ส่งผลต่อผู้ประกอบการในระดับ SMEs
  2. ในประเทศสิงคโปร์มีการสื่อสาร (Dialogue) ร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อบริการจัดการสิ่งต่าง ๆ ร่วมกัน รับฟังปัญหาจากคนในพื้นที่ ร่วมกันสะท้อนความคิดเห็น เพื่อหาทางออกร่วมกัน จึงนำไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งภาครัฐของประเทศไทยได้มีการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมในลักษณะนี้เช่นกัน ซึ่งความท้าทายของการขับเคลื่อนจากนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ กระบวนการทำงานแบบแยกส่วน การสื่อสารให้เข้าใจในแนวทางเดียวกัน เงินทุน นโยบายการดำเนินการตามแนวทางที่ชัดเจน และการปรับตามกฎระเบียบ

4. การประเมินตามแนวทาง BEE ในประเด็นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability) ครอบคลุม 9 ด้าน ยกเว้นด้านแรงงาน (Labor) โดยมีการประเมินในหลาย ๆ ประเด็น รายละเอียด ดังนี้

  1. การเข้าสู่ธุรกิจ (Business Entry): การจัดการความเสี่ยงที่มีต่อสิ่งแวดล้อมก่อนการเริ่มธุรกิจ
  2. ที่ตั้งธุรกิจ (Business Location): การประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาคารที่มีประสิทธิภาพด้านการใช้พลังง
  3. การเชื่อมต่อสาธารณูปโภค (Utility Connections): มาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
  4. บริการทางการเงิน (Financial Services): การเงินสีเขียว (Green Finance)
  5. การค้าระหว่างประเทศ (International Trade): การค้าเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม NTM คาร์บอนเครดิต
  6. การจัดเก็บภาษี (Taxation): มาตรการทางภาษีเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
  7. การระงับข้อพิพาท (Dispute Resolution): การระงับข้อพิพาทที่ดีในข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
  8. การแข่งขันทางการตลาด (Market Competition): การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement)
  9. การล้มละลายทางธุรกิจ (Business Insolvency): การจัดการสินทรัพย์และการมีส่วนร่วมของเจ้าหนี้ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม

โดยในช่วงท้ายได้มีการซักถามข้อสงสัย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรม เช่น การสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ภาคประชาชนในบริบทที่เข้าใจง่าย การผลักด้านมาตรการสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ ที่จะส่งเสริมให้ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม การที่ภาครัฐสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ รวมถึงเงินลงทุนที่จะส่งผลต่อผู้ประกอบการในระดับ SEMs ทั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐสามารถนำองค์ความรู้เกี่ยวกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม กรอบการดำเนินการทางกฎหมาย และแนวปฏิบัติที่น่าสนใจจากประสบการณ์ของภาคเอกชน เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ประชาชน และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทยได้อีกด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า