ข่าวสาร ก.พ.ร.

สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับ สสปน. หารือภาคเอกชนเพื่อรับฟังความเห็นในการปรับปรุงงานบริการอุตสาหกรรมไมซ์

19 พ.ค. 2564
0
เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2564 สำนักงาน ก.พ.ร. นำโดย นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (สสปน.) โดยนายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สสปน. ได้จัดประชุมหารือเพื่อรับฟังความคิดเห็นในการปรับปรุงงานบริการอุตสาหกรรมไมซ์ เพื่อเตรียมการรองรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยภายหลังวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กับภาคเอกชนในอุตสาหกรรมไมซ์ในกลุ่มผู้ประกอบการ Exhibition และ Mega Events ประกอบด้วย สมาคมการแสดงสินค้า (ไทย) สมาคมเครือข่ายผู้สร้างสรรค์วิชาชีพสื่อบันเทิงไทย สมาคมการค้าส่งเสริมอุตสาหกรรมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย สมาคมการค้าผู้จัดงานกีฬามวลชนไทย สมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน และสมาคมการค้าส่งเสริมการจัดมหกรรมและเทศกาลนานาชาติไทย โดยผลการประชุม สรุปได้ดังนี้

1. ควรมีการปรับปรุงเพื่อลดอุปสรรคในกระบวนการพิจารณาอนุมัติ อนุญาตในอุตสาหกรรมไมซ์ โดยเฉพาะกระบวนงานนำเข้าสินค้า เนื่องจากมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการอนุญาตเป็นจำนวนมาก และควรมีข้อยกเว้นในการดำเนินการในบางเรื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ
2. ภาครัฐควรมีการออกมาตรการที่เป็นแรงจูงใจในการส่งเสริมอุตสาหกรรมไมค์ของประเทศ เช่น การลดภาษีเพื่อจูงใจให้เกิดการนำเข้าสินค้าเพื่อจัดแสดง หรือ การลดภาษีสินค้าบางประเภทเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงกิจกรรมในอุตสาหกรรมไมซ์ได้เพิ่มขึ้น เช่น เครื่องดนตรี อุปกรณ์กีฬา งานด้านศิลปะ
3. ภาครัฐควรสนับสนุนให้ภาคเอกชนเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม แทนการเป็นผู้จัดกิจกรรม รวมถึงต้องส่งเสริมและสนับสนุนในกลุ่มธุรกิจที่ประเทศมีศักยภาพอยู่แล้ว เช่น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง รวมถึงสนับสนุนกลุ่มธุรกิจใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมไมซ์ที่มีศักยภาพ เช่น อุตสาหกรรมดนตรีและกีฬา เป็นต้น
4. การจัดงานในลักษณะ Mega Events ต้องการกลไกสนับสนุนการเชื่อมโยงของภาครัฐ ภาคเอกชน กับหน่วยงานในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดงานเทศกาลอย่างต่อเนื่องหรือพัฒนางานเทศกาลในระดับนานาชาติใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยต่อไป

ทั้งนี้ ในการดำเนินการต่อไป สำนักงาน ก.พ.ร. จะดำเนินการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนการปรับปรุงกระบวนงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติ อนุญาต ที่เป็นปัญหาอุปสรรค เพื่อให้เกิดการบริการที่สะดวกขึ้น เร็วขึ้น ง่ายขึ้น และมีค่าใช้จ่ายที่ถูกลงตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 และหากมีประเด็นที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขกฎหมาย ทางคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจของประชาชน จะช่วยสนับสนุนในการดำเนินการ รวมทั้ง สสปน. อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาและจัดทำ One Stop Service Platform เพื่ออำนวยความสะดวกในอุตสาหกรรมไมซ์ต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า