1) สำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี
2) กรมควบคุมมลพิษ
3) กรมอนามัย
4) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
5) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
7) กรมป่าไม้
8) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช
9) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
ผลจาการประชุม สรุปได้ดังนี้
1. การเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐในเรื่องปัญหา PM 2.5 เพื่อเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจของภาครัฐ (Virtual War room) ประกอบด้วย ข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น
– ข้อมูลค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)
– ข้อมูลจุดความร้อน (Hotspot)
– ข้อมูลพื้นที่เกิดไฟไหม้ซ้ำซาก
– ข้อมูลปัญหาด้านสุขภาพชองประชาชน เช่น จำนวนผู้ป่วยจากโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ ประชากรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่
– ข้อมูลสถานที่เสี่ยงในพื้นที่ เช่น จุดก่อสร้าง พื้นที่ภาคการเกษตร พื้นที่ภาคอุตสาหกรรม พื้นที่ป่าไม้ ฯลฯ
– ข้อมูลทิศทางลม
– ข้อมูลจากภาคเอกชนและภาคประชาชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา PM 2.5 เช่น Application Bern Check , ระบบ Line Chatbot Fireman. Sensor ของภาคเอกชน ฯลฯ
2. การเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐแก่ประชาชนบนข้อมูล “ชุดเดียวกัน” และบน “แพลตฟอร์มกลาง” เดียวกัน ต้องอาศัยความร่วมมือจาก สพร. GISTDA และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการเรื่องนี้ให้ประสบความสำเร็จ
3. บทบาทการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
– แพลตฟอร์มกลาง โดย ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า
– การสนับสนุนข้อมูล โดย กรมควบคุมมลพิษ, GISTDA, กรมอนามัย, สสส. ฯลฯ
– การเชื่อมโยงฐานข้อมูล โดย สพร.
– การเผยแพร่ข้อมูลและสร้างความตระหนัก โดยศูนย์บัญชาการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm 2.5 , กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย , กรมควบคุมมลพิษ,กรมอนามัย, GISTDA, สพร., สสส.ฯลฯ
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. ปัจจุบันมีการถ่ายโอนภารกิจเรื่องการป้องกันไฟป่าให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว แต่การถ่ายโอนดังกล่าว ไม่มีการให้งบประมาณให้แก่ อปท. ด้วย จึงทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
2. การแก้ไขปัญหาชุดข้อมูลที่กระจัดกระจาย สามารถดำเนินการได้โดยจัดทำระบบฐานข้อมูลตาม Agenda เพื่อนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาเผยแพร่เป็นชุดข้อมูลในเรื่องเดียวกัน เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์จากข้อมูล และควรให้มีการจัดทำมาตรฐานของชุดข้อมูลกลาง (Dataset) เผยแพร่ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้องในเว็บไซต์ data.go.th
3. ควรมีการบูรณาการข้อมูล โดยให้มีการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลค่า PM 2.5 จากภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาควิชาการ เพื่อเสริมข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษที่มีสถานีอยู่อย่างจำกัด โดยการหาค่ามาตรฐานและค่าเฉลี่ยของค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ที่ตรงมากขึ้น
4. สิ่งสำคัญของการเปิดเผยข้อมูล คือ ควรเป็นข้อมูลที่ประชาชนต้องการรู้และตอบโจทย์ความต้องการของคนในพื้นที่ในการนำไปใช้ประโยชน์ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาควิชาการ และภาคส่วนอื่นๆ ในการเข้ามาร่วมรายงาน และให้ข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเสริมข้อมูลของภาครัฐที่มีอยู่แล้วให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น