ข่าวสาร ก.พ.ร.

การสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) และการพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง จังหวัดลำปาง

23 มี.ค. 2564
0
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2564 ประธาน อ.ก.พ.ร.ภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม (นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์) อนุกรรมการ อ.ก.พ.ร.ฯ (นายสุนิตย์ เชรษฐา) รองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข) ผอ.กองนวัตกรรมบริการภาครัฐ (นางสาวนภนง ขวัญยืน) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (ดร. มนต์ศักดิ์ โซ่เจริญธรรม) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และเจ้าหน้าที่กองนวัตกรรมบริการภาครัฐ และกองพัฒนาระบบการบริหารงานส่วนภูมิภาค ประชุมหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง (นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร) เรื่องการสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) และแนวทางการพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง

การประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ได้แก่

– สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด
– สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด
– สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด
– สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด
– สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 (ลำปาง)
– สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด
– ภาคเอกชน
– ภาคประชาชน

ผลจากการประชุม สรุปได้ดังนี้

1. แนวทางการพัฒนาระบบนิเวศเพื่อสร้างเสริมภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม ทั้ง 8 องค์ประกอบ มีสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานของจังหวัดลำปาง ทั้งในด้านการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐ การมีนโยบายและกฎหมายที่เอื้อต่อการเปิดระบบราชการ การปรับโครงสร้างองค์การ การสร้างผู้นำที่เปิดกว้าง การสนับสนุนองค์ความรู้และทรัพยากร การพัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน การติดตามนโยบายของภาครัฐ การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM 2.5

2. แนวทางการพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง ในเรื่องการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จังหวัดลำปาง

3. แนวทางการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการแก้ไขปัญหา PM 2.5 มี Action Plan ดังนี้

3.1 การจัดทำฐานและจัดเก็บข้อมูลเข้าสู่ระบบในลักษณะข้อมูลชุดเดียว (One Data) ทั้งจังหวัด เพื่อใช้ในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด
3.2 การพัฒนาเครื่องมือหรือเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น Platform , Application เพื่อใช้ในการแจ้งเหตุไฟป่า
3.3 การพัฒนากฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ เช่น การผลักดันเรื่องกฎหมายอากาศสะอาด
3.4 การปรับปรุงระเบียบวิธีการจัดทำงบประมาณ เช่น การจัดทำงบประมาณในลักษณะ Area Base และ Agenda Base
3.5 การชดเชย เยียวยา สร้างอาชีพเสริมให้ชาวบ้าน เพื่อปรับเปลี่ยนจากผู้ทำลายป่าเป็นผู้พิทักษ์ผืนป่า เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากชาวบ้านในการดูแลพื้นที่ป่า
3.6 การพัฒนาการสื่อสารเชิงรุกและใช้กลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เช่น การมุ่งเน้นความสำคัญในเรื่องของสุขภาพประชาชน ซึ่งเป็นประเด็นที่เเกี่ยวข้องกับประชาชนทุกคน

สำหรับในช่วงบ่าย คณะได้เข้ารับฟังการบรรยายและศึกษาดูงาน “หมู่บ้านต้นแบบปลอดการเผา” ณ ชุมชนบ้านต้นต้อง อ.เมือง จ.ลำปาง ซึ่งในอดีตเป็นหมู่บ้านที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ทำลายป่า แต่ปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้เป็นชุมชนต้นแบบที่ดูแลรักษาป่า อยู่ร่วมกับป่า ใช้ประโยชน์จากป่าอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชาวบ้าน ร่วมปกป้องป่า โดยมีการสร้างกฎกติกาดูแลรักษาป่า ควบคุมหมอกควัน ลาดตระเวนป้องกันการเกิดไฟป่า ทำแนวกันไฟ ทำฝายชะลอน้ำ ปลูกป่าทดแทน มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติเป็นแหล่งเรียนรู้พืชสมุนไพร เฝ้าระวังดูแลพื้นที่ให้ปลอดจากการเผา และบริหารให้มีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ภายใต้พื้นฐานของหลักเศรษฐกิจพอเพียง

จากนั้น คณะได้รับฟังบรรยายและศึกษาดูงาน “อุทยานแห่งชาติเขลางค์บรรพต” อ.เมือง จ.ลำปาง ซึ่งเป็นเป็นพื้นที่ป่าที่สำคัญของ จ.ลำปาง เนื่องจากมีพื้นที่ป่าไม้ จำนวนกว่า 70,000 ไร่ อยู่ใกล้ตัวเมือง และในอดีตเป็นอุทยานที่มีปัญหาไฟป่าเป็นประจำ ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงมีมาตรการ “ชิงเก็บ ลดเผา”ประกาศปิดป่า และเดินลาดตระเวน เพื่อไม่ให้คนเข้าไปล่าสัตว์ป่า หาของป่า และจุดไฟเผา โดยมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการป้องกันและสนับสนุนภารกิจด้านไฟป่าในพื้นที่ เช่น การใช้ระบบ “Smart Patrol” หรือระบบลาดตระเวนที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อวางแผนลาดตระเวน เก็บข้อมูล วิเคราะห์ประมวลผลในมาตรฐานเดียวกันทุกที่ และมีการใช้เครื่องบินอากาศยานไร้คนขับ (Drone) บินตรวจสอบบริเวณพื้นที่ป่า ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพในการป้องกัน ปราบปราม และการจัดการพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มงานการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า