1. กรอบการพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง
เพื่อให้การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด (Positioning / Pain Point) ประเด็นปัญหาอุปสรรคและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ จังหวัดจะต้องมีการวิเคราะห์ปัญหา/การพัฒนา (Situation Analysis) เพื่อกำหนดประเด็นสำคัญในการขับเคลื่อนของจังหวัด (Agenda) ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่น 1) ด้านการเพิ่มความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก (Local Economy) 2) ด้านการลดผลกระทบทางสังคมและความมั่นคง (Social and Human Impact) และ 3) ด้านการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability)
2. รูปแบบการขับเคลื่อนการพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง เพื่อให้จังหวัดมีการบริหารราชการที่มีความคล่องตัว และสามารถตอบโจทย์ปัญหาอุปสรรค ความต้องการ และประเด็นสำคัญเชิงพื้นที่ จึงได้มีการนำเสนอตัวอย่างรูปแบบการพัฒนาและแก้ปัญหา (Model and Mechanism) เช่น 1) การนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการพัฒนางาน (Digital Government) 2) การพัฒนานวัตกรรมของภาครัฐ (Public Innovation) 3) การส่งเสริมและพัฒนาวิธีการปฏิบัติงานไปสู่การเป็นราชการระบบเปิด (Open Government) และ 4) การพัฒนาการบริการภาครัฐที่เป็นเลิศ (Public Service for Excellence) รวมทั้งกำหนดข้อจำกัดการบริหารงานของจังหวัดที่ต้องการเสนอเพื่อปลดล็อกระยะต่อไป
3. แนวทางการเข้าร่วมการพัฒนาของจังหวัดให้มีการทำงานที่มีผลสัมฤทธิ์สูง จังหวัดเริ่มดำเนินการ 22 จังหวัดและจังหวัดสมัครใจเข้าร่วมโครงการ ร่วมดำเนินการกับ มท.และ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อจัดทำร่างข้อเสนอการพัฒนาและแก้ปัญหาภายในวันที่ 12 มีนาคม 2564 และฉบับสมบูรณ์ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564 และใช้ขับเคลื่อนในพื้นที่ระหว่างเดือนเมษายน – สิงหาคม 2564 ต่อไป โดยมีทีมขับเคลื่อนกลาง ซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงาน ก.พ.ร. ให้การสนับสนุนช่วยเหลือการขับเคลื่อนการพัฒนาร่วมกับคณะทำงานขับเคลื่อนจังหวัด
กลุ่มงานการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ