ทั้งนี้ มีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ได้แก่
– สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสิงห์บุรี
– สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสิงห์บุรี
– สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสิงห์บุรี
– สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสิงห์บุรี
– สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสิงห์บุรี
– สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสิงห์บุรี
– สำนักงานขนส่งจังหวัดสิงห์บุรี
– สำนักงานแรงงานจังหวัดสิงห์บุรี
– บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด
ผลจากการประชุม สรุปได้ดังนี้
1. การพัฒนาระบบนิเวศเพื่อสร้างเสริมภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม (Open Government and Meaningful Participation Ecosystem) 8 องค์ประกอบ ได้แก่ การเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐ การมีนโยบายและกฎหมายที่เอื้อต่อการเปิดระบบราชการ การปรับโครงสร้างองค์การ การสร้างผู้นำที่เปิดกว้าง การสนับสนุนองค์ความรู้และทรัพยากร การพัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน การติดตามนโยบายของภาครัฐ การสร้างวัฒนธรรมองค์กร
2. แนวทางการพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง (HPO) ในเรื่องการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จังหวัดสิงห์บุรี
3. แนวทางการสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จังหวัดสิงห์บุรี เช่น การเปิดเผยข้อมูลค่าฝุ่น PM 2.5 สาเหตุของฝุ่น จำนวนการเผา แหล่งที่มา ผลกระทบต่อสุขภาพ ฯลฯ การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา เนื่องด้วยปัจจุบันจังหวัดสิงห์บุรีไม่มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติแบบถาวรอยู่ในพื้นที่ จึงใช้ข้อมูลคุณภาพอากาศจากสถานีตั้งอยู่ใกล้จังหวัดสิงห์บุรีมากที่สุด ซึ่งอยู่ที่ จ.ลพบุรี ทำให้ประชาชนไม่ได้รับทราบข้อมูลคุณภาพอากาศที่แท้จริง จึงแนะนำให้มีการใช้ข้อมูลจากดาวเทียมของ GISTDA ในการดูข้อมูลเรื่องจุดความร้อน (Hotspot) และ ค่าPM 2.5 เสริม เพื่อช่วยติดตามสภาพปัญหาและประเมินสภาพอากาศที่แท้จริงเพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชนได้รับทราบ
สำหรับในช่วงบ่าย คณะได้เดินทางลงพื้นที่ปลูกไร่อ้อย ณ ไร่สามพี่น้อง อ.บางระจัน จ. สิงห์บุรี เพื่อรับฟังการบรรยายจากผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานอ้อย (ภาคกลาง) (นายไพฑูรย์ ประภาถะโร) เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM 2.5 ที่บริษัทมิตรผลได้มีการรณรงค์มาอย่างต่อเนื่อง และศึกษาดูงานการจัดแปลงอ้อยรูปแบบใหม่ที่มีการเว้นระยะที่เหมาะสมต่อการนำเทคโนโลยีเข้าไปเก็บเกี่ยวอ้อย ทั้งนี้ เพื่อลดการเผาอ้อย และลดการใช้แรงงานคนที่ขาดแคลน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมภาคเกษตรเพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้สามารถทัดเทียมกับต่างประเทศได้
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. จะดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา PM 2.5 ในเดือนเมษายน 2564 ต่อไป
กลุ่มงานการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ