1. ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับพื้นที่สาธารณะที่ประชาชนใช้ประโยชน์ ทำให้เมื่อจะขอเข้าใช้พื้นที่ เช่น ขุดสระ ขุดเจาะบาดาล ต้องขออนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ ซึ่งกระบวนการขออนุญาตมีระยะเวลานาน ทำให้อาจไม่ทันเวลาต่อการใช้งบประมาณ
2. ปัญหาด้านงบประมาณไม่เพียงพอในการดำเนินงาน (ถ่ายโอนแต่ภารกิจ ไม่ได้โอนงบประมาณ และคน)
3. วงจรงบประมาณไม่ตรงเวลากับความต้องการใช้ในแต่ละช่วงเวลา
4. การตัดสินใจดำเนินการในการจัดบริการสาธารณะจะต้องได้รับความเห็นชอบร่วมกันกับนายอำเภอด้วย ทำให้ท้องถิ่นถูกจำกัดการใช้อำนาจในการตัดสินใจ
5. การกำหนดให้ถ่ายโอนภารกิจแหล่งน้ำขนาดความจุไม่เกิน 2 ล้าน ลบ.ม. (วงเงินประมาณ 70 – 80 ล้านบาท) ให้อยู่ในอำนาจ อบต. อาจเกินขีดความสามารถของ อปท. บางแห่ง
6. การใช้อำนาจของอนุคณะกรรมการกระจายอำนาจในระดับจังหวัด (ผวจ. เป็นประธาน) ยังทำได้ไม่ตามบทบาทที่กำหนดส่งผลให้ต่องส่งเรื่องเข้าสู่การตัดสินปัญหาโดยคณะกรรมการกระจายอำนาจส่วนกลาง
7. ส่วนราชการที่รับผิดชอบไม่ยอมถ่ายโอนภารกิจให้แก่ท้องถิ่นตามแผนฯ ดังนั้น จึงควรสนับสนุนงบประมาณให้แก่ อบต. ที่ได้รับผิดชอบแทนการให้งบประมาณแก่ส่วนกลางเพื่อไปดำเนินการ
8. ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดิน เช่น ที่สาธารณะ ทุ่งเลี้ยงสัตว์ มาเป็นที่สาธารณะที่ประชาชนใช้ประโยชน์ จะใช้เวลาหลายปี
กลุ่มงานการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ