การประชุมดังกล่าว สืบเนื่องจากร่างพระราชกฤษฎีกาการกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตแทนการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต พ.ศ. …. ที่ปัจจุบันได้ผ่านวุฒิสภาให้ความเห็นชอบแล้ว อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตในชั้นของวุฒิสภาถึงประเด็นข้อห่วงใย เกี่ยวกับการสร้างความปลอดภัยสาธารณะของใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตราย ตามบัญชีท้ายร่างพระราชกฤษฎีกาฯ (11 ฉบับ 31 ใบอนุญาต) ซึ่งมี
ความเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 (เฉพาะกรณีที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมประมง กรมปศุสัตว์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) และพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542
ที่เกี่ยวข้องกับกรมธุรกิจพลังงาน โดยที่ประชุมได้หารือและมีข้อสรุปดังนี้
แนวทางในการตรวจสอบกิจการ/ป้องกันอันตรายของหน่วยงานอยู่แล้ว โดยในกรณีที่มีผู้ขอใบอนุญาตจำนวนไม่มาก ก็จะสามารถดำเนินการตรวจสอบโดยให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ไปสุ่มตรวจมาตรฐานและความปลอดภัยได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามในกรณีหน่วยงานที่มีการขออนุญาตจำนวนมาก อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน เพื่อให้รองรับกับการใช้บริการดังกล่าว รวมถึง หน่วยงานที่มีการมอบอำนาจถ่ายโอนงานขออนุญาตไปยังหน่วยงานในส่วนภูมิภาค หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็จะต้องมีการสื่อสารทำความเข้าใจที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
กรมปศุสัตว์มีการวางแผนในการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ มีแผนจะนำ AI มาใช้ในการต่ออายุใบอนุญาตในการนำเข้าส่งออก ซึ่งจะดำเนินการได้ภายในปี 2564 นี้
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่มีระบบ e-submission สามารถดำเนินการต่ออายุและชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์และช่องทางปกติได้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำระบบการอนุญาตวัตถุอันตรายในจุดเดียว (HSSS) ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานและผู้ประกอบการ
แนวทางการพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอน ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสอบความปลอดภัยให้เป็นไปตามมาตรฐานเช่นเดิม ทั้งนี้ หากต่ออายุไปแล้วพบว่ากระทำการผิดเงื่อนไข ถ้าไม่รุนแรงก็จะพักใช้ใบอนุญาต แต่ถ้าเป็นความผิดร้ายแรงก็จะต้องมีการเพิกถอนใบอนุญาตต่อไป
อย่างไรก็ตาม ทุกหน่วยงานจะได้มีการดำเนินการในการเตรียมความพร้อม รวมถึงการจัดทำประกาศที่จะระบุขั้นตอนการดำเนินการรวมทั้งเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เป็นส่วนสำคัญและมีความเกี่ยวข้องกับการขอใบอนุญาตนั้นๆ ต่อไป