ข่าวสาร ก.พ.ร.

การประชุมแบบออนไลน์เต็มรูปแบบครั้งแรกของงานประชุมนานาชาติ (ครั้งที่ 8) ภายใต้หัวข้อ ?? “ASEAN Forum on State Capacity in Responding to a National Crisis (COVID-19): Ideas and Solutions for the Government” ผ่านโปรแกรม Zoom

22 ม.ค. 2564
0
จบไปแล้วสำหรับการประชุมแบบออนไลน์เต็มรูปแบบครั้งแรกของงานประชุมนานาชาติ (ครั้งที่ 8) ภายใต้หัวข้อ ?? “ASEAN Forum on State Capacity in Responding to a National Crisis (COVID-19): Ideas and Solutions for the Government” ผ่านโปรแกรม Zoom ระหว่างวันที่ 20-22 มกราคม 2564 จัดโดยสำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับ Korea Research Institute, University of New South Wales, Australia และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อนำเสนอและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนการอภิปรายแนวทางการสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาประเทศด้วยหลักธรรมาภิบาลที่ดี ให้มีความทันสมัยและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ เข้าร่วมการประชุม สรุปประเด็นที่สำคัญ ดังนี้??

1. เลขาธิการ ก.พ.ร. (นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ) เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมฯ โดยได้ให้ทิศทางของการบริหารงานภาครัฐในยุคหลัง COVID-19 ซึ่งได้ถอดบทเรียนมาจากการรับมือวิกฤต COVID-19 ที่ผ่านมาของประเทศไทย 3 ประเด็น ดังนี้

1.1 ผู้นำที่มีความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ (Resilient leaders) ผู้นำทำหน้าที่เสมือนผู้ประสานวงดนตรี (leader to orchestrate) ที่มีความเข้าอกเข้าใจในทุกภาคส่วนและสามารถผสานประโยชน์เพื่อการก้าวผ่านวิกฤตร่วมกันได้
1.2 ความเชื่อมั่นในรัฐบาล (Public Trust) จะช่วยคงไว้ซึ่งเสถียรภาพของรัฐบาลท่ามกลางวิกฤต ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากประเด็นถัดไป คือ
1.3 การเป็นรัฐบาลเปิด (Open Government) ที่เปิดกว้างและเชื่อมโยงด้วยข้อมูลผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาร่วมกัน

2. “Embracing Digital Government During the Outbreak of COVID-19”

2.1 รัฐบาลทั่วโลกมุ่งสู่การเป็น Digital Government เพื่อก้าวข้ามวิกฤตโรคระบาด COVID-19 จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนำมาสู่การบริการภาครัฐแบบออนไลน์ (e-Service) อย่างเต็มรูปแบบ ทำให้เกิดการบริการภาครัฐที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น
2.2 ความท้าทายของภาครัฐในการมุ่งสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ประกอบด้วย
> ไม่เร็ว (Time-Consuming Process) กระบวนการที่ใช้เวลานาน
> ไม่ทัน (Not updated) ไม่มีการปรับเทคโนโลยีให้เหมาะสม
> ไม่เชื่อมโยง (Unsynchronized) การไม่เชื่อมโยงข้อมูล
2.3 การพัฒนา e-Services ต้องปรับโครงสร้างราชการ พัฒนาแพลตฟอร์มกลางที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ครอบคลุมถึงส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น รวมถึงปลดล็อคข้อจำกัดด้านกฎหมาย และสื่อสารให้เข้าถึงผู้รับบริการ

3. “Transforming Government Post COVID-19” : Work from Home (WFH)

3.1 WFH ทำให้ภาครัฐพบทั้งความท้าทาย ในประเด็นโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัล และกฎระเบียบข้อบังคับที่ไม่ทันสมัยและไม่ยืดหยุ่น
3.2 วัฒนธรรมการทำงานใหม่ที่ยืดหยุ่นส่งผลต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบเดิม ซึ่งต้องอาศัยการปรับตัวและการสื่อสารภายในองค์กร รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมใหม่เพื่อความเชื่อใจในการทำงาน

4. “Public Sector Reform: Past Lessons, Future Challenges: Policy Review & Cases”

4.1 การปฏิรูปกฎหมายในอาเซียนควรออกแบบตามสถานการณ์การใช้งาน ซึ่งมีแนวทางในการปฏิรูป เช่น การทำกิโยติน การใช้วิธี one in one out การลดกระบวนการ (Red Tape reduction) การทำ RIA กฎหมาย (เป็นการประเมินกฎหมายทั้งกระบวนงาน) และการทำ collaborative regulation
4.2 การปฏิรูประบบราชการท้องถิ่นของอินโดนีเซียให้ความสำคัญต่อการกระจายอำนาจและการปกครองในระดับภูมิภาค ทำให้เพิ่มพลวัตของเศรษฐกิจในภูมิภาคและตอบสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด
4.3 ประเทศมาเลเซียใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการประเมินนโยบายบุคลากรภาครัฐ การแลกเปลี่ยนข้อมูลบุคลากรระหว่างหน่วยงาน และการวัดประสิทธิผลของข้าราชการ โดยพัฒนาบุคลากรภาครัฐให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและเป็นระบบเดียวกัน (single window) เพื่อมั่นใจว่าบุคลากรจะมีขีดสมรรถนะและศักยภาพที่เพียงพอจะทำให้รัฐบาลบรรลุวิสัยทัศน์ได้
4.4 ความสำเร็จของระบบราชการของเวียดนามในปัจจุบัน ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก คือ

(1) การเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการ ให้มีความทันสมัยและช่วยให้การบริหารงานดีขึ้น สอดคล้องกันระหว่างราชการและประชาชน
(2) การเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบัน กลไกองค์กร โดยสร้างความเข้มแข็งทั้งโครงสร้าง หน้าที่ และความรับผิดชอบ รวมถึงเน้นการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น
(3) การพัฒนาระบบราชการด้วยการปรับระบบบุคลากร ได้แก่ การสรรหาข้าราชการ การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการ การแต่งตั้งผู้บริหาร ค่าตอบแทน รวมถึงการอบรมและพัฒนาข้าราชการ

4.5 รัฐบาลมาเลเซียสนับสนุนให้ประชาชนให้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนผ่านประเทศ (National Transformation) ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเปิดพื้นที่แสดงความเห็น
4.6 การปฏิรูปการเก็บภาษีของรัฐบาลพม่ามีการกระจายอำนาจในการเก็บภาษีไปยังท้องถิ่นมากขึ้น และให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี Digital Literacy ของบุคลากรภาครัฐและการส่งเสริมความโปร่งใสและภาระความรับผิดชอบในการจัดเก็บภาษีของภาครัฐ
4.7 ในส่วนของประเทศไทย สำนักงาน ก.พ.ร. พัฒนาระบบราชการและขับเคลื่อน Digital Transformation ในหน่วยงานภาครัฐให้เกิดขึ้นจริงและเป็นรูปธรรม อาทิ พ.ร.บ. อํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและธุรกิจในการขอใบอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐ หรือติดต่อกับส่วนราชการ ระบบ Biz Portal หรือระบบกลางในการขอเริ่มต้นการประกอบธุรกิจในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังผลักดันนโยบายสำคัญต่างๆ ในการยกระดับงานบริการภาครัฐ อาทิ แนวคิด paperless solution ในหน่วยงานภาครัฐ การขอเอกสารสองภาษาจากหน่วยงานภาครัฐ ระบบ Track and Trace ในการรับบริการภาครัฐ ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ

5. บทสรุปและความร่วมมือในอนาคต

5.1 การเปลี่ยนแปลงการทำงานและการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ โดยยึดแนวทาง New Public Management จะทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานของภาครัฐภายหลังสถานการณ์ COVID-19 ได้ดียิ่งขึ้น
5.2 สภาพแวดล้อมปัจจุบันบังคับและส่งเสริมให้ภาครัฐเร่งปรับตัวไปสู่รูปแบบดิจิทัลมากขึ้น อย่างไรก็ตาม พบว่าปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานยังเป็นอุปสรรคสำคัญของหลายประเทศในการเปลี่ยนแปลงไปสู่รัฐบาลดิจิทัล นอกจากนี้ การลดข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและการปรับแก้กฎหมายจะช่วยให้การทำงานที่บ้าน (WFH) เป็นไปอย่างสะดวกและราบรื่นยิ่งขึ้น
5.3 ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนล้วนมีความสำคัญในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและก้าวข้ามอุปสรรคท่ามกลางสถานการณ์วิกฤต
5.4 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีการปรับปรุงและพัฒนาตนเองอยู่ตลอด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นอาจจะเริ่มจากสิ่งเล็กๆ แต่เมื่อเชื่อมต่อสิ่งเล็กๆ เหล่านั้นด้วยกันแล้ว ในระยะเวลาหลายสิบปี ก็จะสามารถมองเห็นได้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา

Download เอกสารได้ที่นี่ https://drive.google.com/drive/folders/1tlxeoT7CafK3HqqOIy55H7ACKK7F_Y8Z?usp=sharing

กลุ่มงานการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ สำนักงาน ก.พ.ร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และประเมินผลการใช้งาน (Performance Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้ช่วยให้ ก.พ.ร. ทราบถึงการปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานในการใช้บริการเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. รวมถึงหน้าเพจหรือพื้นที่ใดของเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยม ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่น ๆ ก.พ.ร. ยังใช้ข้อมูลนี้เพื่อการปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ และเพื่อเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานมากขึ้น ถึงแม้ว่า ข้อมูลที่คุกกี้นี้เก็บรวบรวมจะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ และนำมาใช้วิเคราะห์ทางสถิติเท่านั้น การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ ก.พ.ร. ไม่สามารถทราบปริมาณผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ และไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้บริการได้

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้เป็นคุกกี้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานและเว็บไซต์ที่ท่านได้เข้าเยี่ยมชม เพื่อนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่นที่ไม่ใช่เว็บไซต์ของ ก.พ.ร. ทั้งนี้ หากท่านปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานเว็บไซต์ของ ก.พ.ร. แต่จะส่งผลให้การนำเสนอสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์อื่น ๆ ไม่สอดคล้องกับความสนใจของท่าน

บันทึกการตั้งค่า